Follow us

วิจัยพบต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอทุก 1 กก.ช่วยดูดก๊าซเรือนกระจกได้ 1 กก.

          ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิศวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานนวัต-กรรมแห่งชาติ (NIA) ศึกษาพบการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ มีส่วนช่วยแก้โลกร้อน โดยต้นกระดาษฯ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศสุทธิได้ 1 กิโลกรัม หากส่งเสริมปลูกตามพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น คันนา จะช่วยแก้ปัญหาได้มากยิ่งขึ้น

 

         รศ.ดร.ประเสริฐ ภวสันต์ ผู้ประสานงานโครงการศูนย์วิจัยการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทางทีมวิจัย ได้ร่วมกับบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยบางส่วนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ในการศึกษาเกี่ยวกับ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ที่ปลูกตามคันนา และได้เริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา life cycle assessment หรือการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์กระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ตั้งแต่แหล่งกำเนิด หรือศึกษาวัฎจักรชีวิต เริ่มตั้งแต่เป็นต้นกล้าจนถึงการตัดฟันเป็นไม้ท่อนส่งถึงโรงงาน โดยพิจารณาทั้งปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ และกระบวนการระหว่างทางที่จะทำให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมีการกำจัดแมลงระหว่างปลูก และการใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้ระหว่างการขนส่ง ทั้งจากการขนส่งไม้ท่อนมาจำหน่ายโดยรถของเกษตรกรซึ่งใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง และการขนส่งกล้าและไม้ท่อนโดยรถบรรทุกในเครือข่ายของดั๊บเบิ้ล เอ ที่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิง CNG หรือก๊าซธรรมชาติอัด ซึ่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

         ผลจากการศึกษาในส่วนของการใช้สารเคมีระหว่างการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ พบว่า มีปริมาณการใช้สารเคมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนท่อนไม้ที่ผลิตได้หลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลาเก็บเกี่ยว สอดคล้องกับการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ที่ให้ข้อมูลว่า การปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยในการปลูก ถึงแม้จะมีเกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยบ้างในการเตรียมดินขณะปลูก ดังนั้นจากการศึกษาจึงพบว่า ภาระต่อสิ่งแวดล้อมของต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ในด้านนี้ ถือว่ามีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย

 

         ส่วนการประเมินผลกระทบจากการขนส่ง ได้มีการสุ่มตัวอย่างการขนส่งทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การขนส่งกล้าต้นกระดาษฯ จากโรงเพาะชำที่จังหวัดปราจีนบุรีไปยังสำนักงานสาขาในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งสำนักงานเหล่านี้จะทำหน้าที่กระจายต้นกล้าและรับซื้อไม้ท่อนจากเกษตรกร การขนส่งต้นกล้าจากสำนักงานสาขาไปยังเกษตรกร การขนส่งไม้ท่อนของเกษตรกรกลับมายังสำนักงานสาขา และท้ายที่สุดคือ การขนส่งไม้ท่อนถึงโรงงานของดั๊บเบิ้ล เอ โดยมีระยะทางระหว่างสำนักงานสาขาไปยังพื้นที่ของเกษตรกรในรัศมีประมาณ 10-20 กิโลเมตร

 

         ผลจากการประเมินคำนวนการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า ต้นกระดาษอายุ 3 ปีจะมีน้ำหนักรวม 65.3 กิโลกรัม เมื่อตัดฟันเป็นไม้ท่อนจะมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ซึ่งจะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้เท่ากับ 62.9 กิโลกรัมต่อท่อนไม้หนัก 60 กิโลกรัม และดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิอยู่ที่ 60.6 กิโลกรัม เมื่อหักลบคาร์บอนที่เกิดจากการขนส่งและกระบวนการอื่นแล้ว นอกจากนี้ยังช่วยสร้างออกซิเจนให้กับบรรยากาศอีก 45.7 กิโลกรัมต่อท่อนไม้หนัก 60 กิโลกรัมอีกด้วย กล่าวโดยสรุปคือ ท่อนไม้ต้นกระดาษหนัก 1 กิโลกรัม ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เท่ากับ 1 กิโลกรัมเช่นกัน

 

         นอกจากนี้ในระหว่างการศึกษาจากการสัมภาษณ์ชาวนา 78 รายที่ปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ บนคันนา ยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 90 ของเกษตรกรสมาชิกมีความรู้เพียงพอในการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ร้อยละ 70 ของเกษตรกรสมาชิกไม่พบว่ามีผลกระทบอะไรต่อผลผลิตข้าวจากการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ และ ร้อยละ 97 จากเกษตรกรสมาชิกกล่าวว่าครอบครัวของเขามีทัศนคติที่ดีต่อการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ และเกษตรกรเกือบทั้งหมดมีความพอใจกับรายได้ที่เกิดจากการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ บนคันนา เนื่องจากช่วยทำให้พื้นที่ว่างที่ไม่มีประโยชน์กลายเป็นรายได้เสริม ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดของการส่งเสริมการปลูกต้นกระดาษบนคันนานี้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากเกษตรกร และหากได้รับการส่งเสริมต่อเนื่องก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่เคยว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลดภาวะก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน

ข่าวประชาสัมพันธ์

Double A ร่วมสนับสนุนงาน World Expo 2020 Dubai ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลสู่สายตาทั่วโลก

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกิจกรรม “Thailand Pavilion Launch & Networking Reception” ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) งาน World Expo 2020 Dubai ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 มหกรรมงานระดับโลก ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 -31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยผ่านการลงทุน การค้า สู่สายตาประชาคมโลก โดยมี นายวราวุธ ภู่อภิญญา (คนกลาง) เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม ณ โรงแรมดุสิตธานี ดูไบ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัว “กระดาษคราฟท์” พร้อมจำหน่าย รองรับตลาดอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กระดาษคราฟท์” เพื่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี พร้อมทำการตลาดและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3,000 ล้านบาทต่อปี นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า ความต้องการกระดาษคราฟท์ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมีประมาณ 164 ล้านตันต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 2.5 % โดยตลาดในแถบเอเชียแปซิฟิค ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคกระดาษคราฟท์มากที่สุดในโลก หรือเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิคที่ไม่รวมประเทศจีน ก็มีความต้องการมากถึง 30 ล้านตันต่อปี และมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ 4 % ต่อปี ทั้งนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดกระดาษคราฟท์มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการลงทุนสร้างโรงเยื่อ RECYCLE PULP (RCP) แห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยงบลงทุน 1,000 ล้านบาท มีการเดินเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับกระบวนการผลิตของโรงกระดาษที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงโรงกระดาษ 1 ที่จังหวัดปราจีนบุรี มาผลิตกระดาษคราฟท์ กำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์แรกที่พร้อมจำหน่ายแล้ว คือ กระดาษคราฟท์เพื่อทำลอนกล่องลูกฟูก CORRUGATED MEDIUM (CM) สำหรับการทำตลาดกระดาษคราฟท์นั้น ดั๊บเบิ้ล เอ วางแผนทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากประเทศในแถบเอเชียก่อน โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการที่ดั๊บเบิ้ล เอ มีเครือข่ายการตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ กำลังการผลิตส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานกล่องกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ ด้วย เพื่อทดแทนการใช้วัตถุดิบจากภายนอก ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับดั๊บเบิ้ล เอ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของดั๊บเบิ้ล เอ มากขึ้น เนื่องจากตลาดกระดาษเพื่อบรรจุภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ปัจจุบัน ดั๊บเบิ้ล เอ มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เยื่อกระดาษใยสั้น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษสำนักงาน และผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มกระดาษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ปากกา ปากกาเน้นข้อความ ปากกาลบคำผิด เครื่องเย็บกระดาษ กระเป๋าผ้า ซึ่งมีการจำหน่ายในทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ delivery.doubleapaper.com ซึ่งบริการเดลิเวอรี่ส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อรองรับกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในยุค New Normal สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟท์ สามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่โทร.085 835 3794 (สำหรับลูกค้าในประเทศ) และโทร.085 835 4098 (สำหรับลูกค้าต่างประเทศ)

ดั๊บเบิ้ล เอ สร้างปรากฏการณ์สุดเจ๋งใน MV วง OK GO ตอกย้ำกระดาษคุณภาพที่ผู้ใช้ทั่วโลกไว้วางใจ

ปรากฏการณ์ใหม่ระดับโลกเมื่อดั๊บเบิ้ล เอจับมือกับศิลปินวง OK GO วงดนตรีสุดครีเอท แนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก จากสหรัฐอเมริกา ที่มีผลงานเพลงและมิวสิค วิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสร้างเซอร์ไพร์สให้กับแฟนเพลงทั่วโลกอีกครั้ง ในมิวสิควิดีโอเพลง Obsession ด้วยเทคนิค Paper Mapping เป็นครั้งแรกของโลก โชว์คุณภาพดั๊บเบิ้ล เอ ที่ส่งออกไปแล้วกว่า 130 ประเทศ โดยศิลปิน OK GO ได้สัมผัสถึงความเรียบลื่นและคุณสมบัติเด่นของกระดาษดั๊บเบิ้ล เอที่ สามารถพรินต์ออกมาโดยไร้อุปสรรคใดๆ จนเกิดแรงบันดาลใจ“OBSESSION for Smoothness” ในการนำมาสร้างสรรค์ฉากอลังการที่น่าตื่นตาตื่นใจในมิวสิควิดีโอชุดนี้ ซึ่งดั๊บเบิ้ล เอ เห็นถึงความเป็นสากลของดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของวง OK GO ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ๆ สื่อสารภาพลักษณ์ ที่เฟรชขึ้น สนุกขึ้น แต่ยังคงหนักแน่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ทุกคนไว้วางใจ

ดั๊บเบิ้ล เอ จัดกิจกรรม A to a “Young Smart Farmer เกษตรกรยุค 4.0 หัวใจพอเพียง”

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ พาน้องๆ จากโรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมกิจกรรม A to a ปลูกฝัน ปลูกปัญญา ตอน Young Smart Farmer เกษตรกรยุค 4.0 หัวใจพอเพียง ณ ธำรงค์ฟาร์ม จ.นครนายก โดยมีคุณจอย วรวรรณ ธำรงวรางกูร เกษตรกรสาวดีกรีปริญญาโทด้านการตลาดจากประเทศอังกฤษ และคุณบ๊วย ศรัณย์ธร ธำรงวรางกูร ผู้พลิกฟื้นผืนดินว่างเปล่าให้เป็นฟาร์มออร์แกนิคแบบประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในยุค 4.0 มาเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับน้อง ๆ พร้อมนำชมฟาร์ม และสอนเทคนิคการปลูกผักออร์แกนิค และทำน้ำสมูทตี้เพื่อสุขภาพจากวัตถุดิบของฟาร์มในแบบของตัวเอง นอกจากนี้ ยังได้เข้าชมฟาร์มเห็ดนางฟ้าภูฐาน รู้จักวิธีการเพาะและโรงเรือนเพาะเห็ดอีกด้วย สำหรับกิจกรรม A to a ถือเป็นหนึ่งในโครงการ Double A Better Tomorrow ปลูกฝัน ปลูกปัญญา ที่ชวนพี่ๆทุกอาชีพมาร่วมเติมฝัน ปันประสบการณ์ให้กับน้องๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน ลูกหลานชาวนามีเป้าหมายสู่อาชีพในฝัน สามารถติดตามคลิปพี่ A อาชีพต่างๆได้ที่ Youtube Double A Thailand

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะนักเรียน โรงเรียนสตรีวัดระฆัง

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา เปิดบ้านต้อนรับคณะครู และน้องๆ นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตกระดาษที่เลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้น้องๆ ได้มีประสบการณ์จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ได้ทราบขั้นตอน และแหล่งที่มาของกระดาษคุณภาพ ที่ผลิตมาจากต้นกระดาษบนคันนาของเกษตรกรไทย ช่วยสร้างรายได้เสริมและลดโลกร้อน โดยกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ 1 รีม ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 12.5 กิโลกรัม ผ่านการนำเสนอด้วยภาพยนตร์ระบบ 4 มิติ ณ โรงงานดั๊บเบิ้ล เอ จ.ปราจีนบุรี

คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เยี่ยมชมดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา เปิดบ้านต้อนรับคณะนิสิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเข้าใจโมเดล “กระดาษจากคันนา” ที่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรที่ปลูกต้นกระดาษบนคันนาว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดโลกร้อน พร้อมทั้งรู้จักแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า “ทำของเสีย ไม่ให้เสียของ” โดยนำของเหลือใช้จากการผลิตเยื่อและกระดาษ เช่น เปลือกไม้ เศษไม้ น้ำมันยางไม้ มาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในกลุ่มโรงงาน ผ่านการนำเสนอด้วยภาพยนตร์ระบบ 4 มิติ ณ โรงงานดั๊บเบิ้ล เอ จ.ปราจีนบุรี

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะนักศึกษาวปส.รุ่นที่ 7

บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนา เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 7 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมีคุณโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวต้อนรับ และจัดให้มีการบรรยาย เรื่อง "ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัท” ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท พร้อมนำคณะเข้าชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ และชมภาพยนตร์ 4 มิติ เพื่อเรียนรู้โมเดล “กระดาษจากคันนามาตรฐานใหม่ของโลกในการผลิตกระดาษที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรกว่า 1.5 ล้านราย ในการปลูกต้นกระดาษบนคันนา หรือตามพื้นที่ว่างทางการเกษตรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และช่วยลดโลกร้อน เพราะกระดาษจากคันนาของดั๊บเบิ้ล เอ ทุก ๆ 1 รีม จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศได้ถึง 12.5 กิโลกรัม รวมทั้งยังได้ร่วมเรียนรู้แนวคิดการ “ทำของเสีย ไม่ให้เสียของ” ด้วยการใช้ประโยชน์ของเหลือจากกระบวนการผลิต อาทิ เศษไม้ เปลือกไม้ น้ำมันยางไม้ มาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล เป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน เพื่อรองรับใช้ไฟฟ้าภายในโรงงานเอง และยังเหลือพอกระจายสู่ชุมชนได้อีกกว่า 400,000 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้เปิดให้ชมห้องควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตลอด 24 ชม. ที่อาคารสเปซโดม และเข้าชมกระบวนการผลิตกระดาษคุณภาพสูงภายในโรงผลิตกระดาษที่ 3 เพื่อสัมผัสกระดาษม้วนใหญ่ ขนาด 5.28 เมตร น้ำหนัก 33-35 ตัน และชมการแปรรูปกระดาษรีมเล็ก ซึ่งทุกขั้นตอนการผลิตจะถูกควบคุมคุณภาพ เพื่อให้กระดาษทุกแผ่นของดั๊บเบิ้ล เอ มีคุณภาพสูงสม่ำเสมอส่งออกไปทั่วโลกตามคำกล่าวที่ว่า “Double A, Double Quality Paper”

ดั๊บเบิ้ล เอ จัดกิจกรรม A to a พาน้องเรียนรู้อาชีพ “Young Smart Farmer 4.0”

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า ยุคสมัยนี้ได้พัฒนาเทคโนโลยี เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์การดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ทันสมัย รวมทั้งนโยบายภาครัฐเองก็ยังส่งเสริมให้ประเทศไทยมุ่งสู่ยุคดิจิทัล 4.0 นำพาประเทศให้เจริญรุดหน้าเทียบกับนานาประเทศเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่การเกษตร ที่ถือเป็นรากฐานการประกอบอาชีพที่สำคัญของประเทศ ยังมีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยคนรุ่นใหม่ทั้งลูกหลานชาวนา เกษตรกรหรือผู้จบการศึกษาต่างก็ก้าวสู่อาชีพนี้ด้วยรูปแบบการเกษตรยุคใหม่ หรือที่รู้จักกันว่า Young Smart Farmer