Follow us

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และดั๊บเบิ้ล เอ จัดกิจกรรมส่งเสริมเยาวชนรักษ์ภาษาไทย

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผู้คนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม จากการพบปะพูดคุยกัน มาเป็นการสื่อสารข้อความตัวอักษรผ่านอุปกรณ์สื่อสารในโลกออนไลน์ ส่งผลให้การใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยน โดยเฉพาะการอ่านและเขียน ที่ใช้ตัวสะกดและคำศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์ล้ำค่าที่บ่งบอกความเป็นไทย จะถูกกลืนไปตามเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่


ด้วยเหตุนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ จึงร่วมสนับสนุนการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยมีกิจกรรมการแข่งขันเขียนภาษาไทยทั่วไปและภาษากฎหมาย พร้อมทั้งการจัดเสวนาในหัวข้อ "ภาษาไทย ภาษากฎหมาย ภาษาของเรา" เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยและใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ณ อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร

คุณสมพงษ์ คุณกรรณิกา และคุณกนก ร่วมเสวนา หัวข้อ "ภาษาไทย ภาษากฎหมาย ภาษาของเรา"

สำหรับงานในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 จัดขึ้น ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี มีนักเรียนเข้าร่วมงานกว่า 200 คน จากทั้งหมด 10 โรงเรียน โดยช่วงแรกเป็นการเสวนาในหัวข้อ "ภาษาไทย ภาษากฎหมาย ภาษาของเรา" ที่ได้รับเกียรติจากคุณสมพงษ์ เหมวิมล ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และคุณกรรณิกา ธรรมเกษร อดีตผู้ประกาศข่าวและผู้ผลิตรายการเวทีวาที พร้อมด้วยคุณกนก รัตน์วงศ์สกุล ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์และผู้บริหารในเครือเดอะเนชั่น ให้เกียรติร่วมเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งมีข้อคิดดีๆในมุมมองนักสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับภาษาไทยในยุคนี้ที่น่าสนใจเลยทีเดียว

คุณชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ดั๊บเบิ้ล เอ ถ่ายภาพร่วมกับคุณบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ คุณกรรณิกา ธรรมเกษร อดีตพิธีกร และน้องๆ นักเรียน

"ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาของความรู้สึก ส่วนใหญ่เรามักจะใช้ภาษาไทยไปอย่างไม่มีสติ เช่น เจอหน้าเพื่อน ก็ทักไปว่า มาแล้วเหรอ ทั้งที่เห็นเขาเดินมา การใช้ภาษาลักษณะนี้ถือว่าใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่มีเหตุจำเป็นต้องใช้ ถ้าถามว่า ไปไหนมา หรือ ทานข้าวแล้วหรือยัง จะดูถูกต้องกว่า" คุณกรรณิกา อดีตพิธีกรชื่อดัง ผู้ซึ่งคร่ำหวอดในวงการโทรทัศน์ไทยมานาน และเป็นผู้ประกาศข่าวหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลเมขลา เกริ่นนำการเสวนา และเพิ่มเติมว่า ที่ตนเองพูดจาเพราะ และออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดคำ เพราะผู้ใหญ่สมัยนั้นพูดจากันไพเราะมาก เด็กจึงหัดจำและเลียนแบบกันมา นอกจากนี้คุณกรรณิกายังแนะนำให้ฝึกฝนการใช้ภาษาไทย ด้วยการ "จำแต่สิ่งดีๆ แล้วนำมาใช้" ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่เพียงเฉพาะการฝึกภาษาไทยเท่านั้น

บรรยากาศงานเสวนา

คุณกนก รัตน์วงศ์สกุล ก็ได้เสริมเรื่องการใช้ภาษาไทยเพิ่มเติมว่า "เด็กในปัจจุบันต่างพูดไม่จบคำ ไม่จบประโยค ออกเสียงไม่ถูกอักขรวิธีเหมือนคนสมัยก่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับตัวเองและหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีปฏิสัมพันธ์กับรอบข้างน้อยลง ทำให้เด็กขาดความมั่นใจตนเอง ไม่กล้าสบตาผู้อื่นเวลาพูด และไม่สามารถเรียบเรียงเรื่องราวต่างๆ ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ฟังได้" ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยตรงกับหลานของคุณกนกเองที่อยู่ชั้นมัธยมศึกษา และเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้น คุณกนกก็พยายามพัฒนาหลานตนเอง ด้วยการฝึกให้หลานเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียนให้ฟังทุกวัน เพื่อให้มีความมั่นใจและกล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้น นอกจากนี้ด้วยวิธีการเรียนของเด็กในปัจจุบันก็มีส่วนให้ทักษะการใช้ภาษาไทยแย่ลง ไม่มีการฝึกท่องอาขยาน หรือฝึกเขียนไทย เหมือนเด็กสมัยก่อนอีกด้วย


สถานการณ์ที่คุณกนกกล่าวมา เป็นปัญหาสำคัญของเด็กไทยสมัยนี้ และมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และดั๊บเบิ้ล เอ ได้ร่วมจัดงานเสวนา "ภาษาไทย ภาษากฎหมาย ภาษาของเรา" ขึ้น ด้วยหวังว่า น้องๆ นักเรียนซึ่งต่อไปจะเป็นอนาคตของชาติ ได้เป็นตัวแทนในการช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยที่ถูกต้องต่อไป

บรรยากาศการแข่งขัน

ในขณะที่นักเรียนส่วนหนึ่งกำลังรับฟังการเสวนา อีกห้องหนึ่งก็มีกิจกรรมแข่งขันเขียนภาษาไทยทั่วไปและภาษากฎหมาย ซึ่งก็ได้เปิดรับสมัครนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมแข่งขัน มีผู้ผ่านคัดเลือกเข้าสู่รอบตัดสินทั้งสิ้น 20 คน โดยทุกคนต่างก็เตรียมตัวกันเต็มที่ เพื่อประลองแข่งขันเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง ซึ่งจะกำหนดให้เขียนประเภทละ 15 คำ รวมทั้งหมด 30 คำ โดยคำศัพท์ที่นำมาแข่งขันในคราวนี้ นอกจากเป็นคำภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปแล้ว ยังนำภาษากฏหมายที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นหรือใช้มาก่อน ถือได้ว่าเป็นการวัดความรู้ความสามารถของแต่ละคนกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะภาษากฏหมายที่ไม่ได้อยู่ในตำราเรียนของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

น้องสุธัญญา ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน และน้องศรีนรัตน์ ได้รับรางวัลชมเชย

โดยผู้ชนะการแข่งขันอันดับที่ 1 ในครั้งนี้ คือ นางสาวสุธัญญา สนธยาสาระ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหอวัง ซึ่งสมัครเข้ามาร่วมแข่งขัน เพราะสนใจด้านกฏหมาย และอยากเป็นผู้พิพากษา "หนูชอบกฏหมายมากเลยค่ะ พออาจารย์บอกว่า เปิดแข่งขันอยู่ ก็ไม่ลังเลรีบสมัครเข้ามาเลย โดยหนูเตรียมตัวด้วยการอ่านหนังสือประมวลกฏหมายค่ะ ประมาน 1 สัปดาห์ การแข่งขันครั้งนี้คำศัพท์ยากมากเลย ยกตัวอย่างเช่นคำว่า ฉัททันต์ ที่แปลว่า ช้าง เป็นคำที่หนูไม่เคยเห็นมาก่อนค่ะ"

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ดั๊บเบิ้ล เอ มอบกระดาษและอุปกรณ์เครื่องเขียนแก่ นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓

และผู้ที่อยู่เบื้องหลังชัยชนะของน้องสุธัญญาคือ อาจารย์อรินยา สถิรชาติ หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนหอวัง ซึ่งอาจารย์ได้บอกว่า "ชัยชนะครั้งนี้เหนือความคาดหมายมาก เพราะเวลากระชั้นชิด ไม่ทันได้เตรียมตัว แต่ก็ให้ลูกศิษย์พยายามทำให้ดีที่สุด" และเมื่อถามถึงความเห็นของอาจารย์ต่อการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน อาจารย์ได้ให้ความเห็นไว้ว่า "โดยส่วนตัวครูไม่ว่าถ้านักเรียนจะใช้คำศัพท์แปลกๆในอินเทอร์เน็ต แต่ควรพิจารณาด้วยว่า คำเหล่านั้นสามารถนำมาใช้กับบุคคลทั่วไปได้หรือไม่ ควรใช้ภาษาแบบใดจึงจะถูกกาลเทศะ และควรคำนึงถึงสังคม สถาบัน ชื่อเสียงวงศ์ตระกูลของตนเองด้วย"

อย่างไรก็ตามน้องๆ ผู้ที่พลาดจากการแข่งขันนี้ ก็ไม่ได้รู้สึกเสียใจ เพราะการมาแข่งขันเขียนไทยคราวนี้ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้น้องๆ รู้ว่า การเข้ามาทำงานในโลกของศาลยุติธรรมนั้น น้องๆ จะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง และรู้คำศัพท์เพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อในอนาคต ดังเช่นความเห็นของน้องศรีนรัตน์ พงษ์ประภาชื่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง ที่ได้รับรางวัลชมเชยในครั้งนี้ "หนูต้องขอขอบคุณศาลอุทธรณ์ภาค 3 และผู้ใหญ่ทุกท่านมากค่ะ ที่ให้โอกาสหนูมาร่วมงานนี้ และได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อเตรียมสอบเป็นผู้พิพากษาอย่างที่หนูใฝ่ฝันไว้ค่ะ ก่อนหน้านี้หนูก็เคยมาแข่งอ่านกฏหมายที่นี่ และถ้าทางศาลจัดงานอะไรในอนาคต หนูก็จะมาอีกค่ะ"

นายวัฒนา วิทยกุล รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และผู้ได้รับรางวัลการแข่งขันเขียนไทย

งานแข่งขันเขียนไทยในวันนั้นจบลงด้วยดี และน้องๆ นักเรียนทุกคนก็ได้ให้คำปฏิญาณว่า ทุกคนจะช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้อย่างสุดความสามารถ ตามคำกล่าวของคุณกรรณิกาที่ว่า "โปรดจงอย่าลืมรากเหง้าของความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษาไทยที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้เรา และยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน"

ข่าวประชาสัมพันธ์

Double A ร่วมสนับสนุนงาน World Expo 2020 Dubai ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลสู่สายตาทั่วโลก

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกิจกรรม “Thailand Pavilion Launch & Networking Reception” ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) งาน World Expo 2020 Dubai ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 มหกรรมงานระดับโลก ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 -31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยผ่านการลงทุน การค้า สู่สายตาประชาคมโลก โดยมี นายวราวุธ ภู่อภิญญา (คนกลาง) เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม ณ โรงแรมดุสิตธานี ดูไบ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัว “กระดาษคราฟท์” พร้อมจำหน่าย รองรับตลาดอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กระดาษคราฟท์” เพื่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี พร้อมทำการตลาดและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3,000 ล้านบาทต่อปี นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า ความต้องการกระดาษคราฟท์ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมีประมาณ 164 ล้านตันต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 2.5 % โดยตลาดในแถบเอเชียแปซิฟิค ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคกระดาษคราฟท์มากที่สุดในโลก หรือเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิคที่ไม่รวมประเทศจีน ก็มีความต้องการมากถึง 30 ล้านตันต่อปี และมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ 4 % ต่อปี ทั้งนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดกระดาษคราฟท์มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการลงทุนสร้างโรงเยื่อ RECYCLE PULP (RCP) แห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยงบลงทุน 1,000 ล้านบาท มีการเดินเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับกระบวนการผลิตของโรงกระดาษที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงโรงกระดาษ 1 ที่จังหวัดปราจีนบุรี มาผลิตกระดาษคราฟท์ กำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์แรกที่พร้อมจำหน่ายแล้ว คือ กระดาษคราฟท์เพื่อทำลอนกล่องลูกฟูก CORRUGATED MEDIUM (CM) สำหรับการทำตลาดกระดาษคราฟท์นั้น ดั๊บเบิ้ล เอ วางแผนทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากประเทศในแถบเอเชียก่อน โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการที่ดั๊บเบิ้ล เอ มีเครือข่ายการตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ กำลังการผลิตส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานกล่องกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ ด้วย เพื่อทดแทนการใช้วัตถุดิบจากภายนอก ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับดั๊บเบิ้ล เอ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของดั๊บเบิ้ล เอ มากขึ้น เนื่องจากตลาดกระดาษเพื่อบรรจุภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ปัจจุบัน ดั๊บเบิ้ล เอ มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เยื่อกระดาษใยสั้น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษสำนักงาน และผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มกระดาษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ปากกา ปากกาเน้นข้อความ ปากกาลบคำผิด เครื่องเย็บกระดาษ กระเป๋าผ้า ซึ่งมีการจำหน่ายในทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ delivery.doubleapaper.com ซึ่งบริการเดลิเวอรี่ส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อรองรับกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในยุค New Normal สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟท์ สามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่โทร.085 835 3794 (สำหรับลูกค้าในประเทศ) และโทร.085 835 4098 (สำหรับลูกค้าต่างประเทศ)

ดั๊บเบิ้ล เอ สร้างปรากฏการณ์สุดเจ๋งใน MV วง OK GO ตอกย้ำกระดาษคุณภาพที่ผู้ใช้ทั่วโลกไว้วางใจ

ปรากฏการณ์ใหม่ระดับโลกเมื่อดั๊บเบิ้ล เอจับมือกับศิลปินวง OK GO วงดนตรีสุดครีเอท แนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก จากสหรัฐอเมริกา ที่มีผลงานเพลงและมิวสิค วิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสร้างเซอร์ไพร์สให้กับแฟนเพลงทั่วโลกอีกครั้ง ในมิวสิควิดีโอเพลง Obsession ด้วยเทคนิค Paper Mapping เป็นครั้งแรกของโลก โชว์คุณภาพดั๊บเบิ้ล เอ ที่ส่งออกไปแล้วกว่า 130 ประเทศ โดยศิลปิน OK GO ได้สัมผัสถึงความเรียบลื่นและคุณสมบัติเด่นของกระดาษดั๊บเบิ้ล เอที่ สามารถพรินต์ออกมาโดยไร้อุปสรรคใดๆ จนเกิดแรงบันดาลใจ“OBSESSION for Smoothness” ในการนำมาสร้างสรรค์ฉากอลังการที่น่าตื่นตาตื่นใจในมิวสิควิดีโอชุดนี้ ซึ่งดั๊บเบิ้ล เอ เห็นถึงความเป็นสากลของดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของวง OK GO ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ๆ สื่อสารภาพลักษณ์ ที่เฟรชขึ้น สนุกขึ้น แต่ยังคงหนักแน่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ทุกคนไว้วางใจ

Double A ล้ำฟินเทคจับมือ Bitazza บริการจ่ายเงินด้วยสกุลดิจิทัล รับเทรนด์คริปโตฯ

ดั๊บเบิ้ล เอ และบิทาซซ่า (Bitazza) แพลตฟอร์มบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำในประเทศ ประกาศความร่วมมือเทคโนโลยีทางการเงิน เปิดตัวให้บริการชำระเงินระบบไร้เงินสดด้วยสกุลเงินดิจิทัลสำหรับบริการ Double A Fastprint พรินต์งานง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเองได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ผลักดันให้ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นรายแรกของไทยที่ให้บริการคริปโตเคอร์เรนซีในธุรกิจงานพรินต์ รองรับลูกค้าเทรนด์ใหม่ พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ เพียงเติมเงินด้วยคริปโตฯ ที่ใช้บริการ Double A Fastprint ครั้งแรก รับโทเคน BTZ คืน 50 BTZ ตั้งแต่วันนี้ถึง 9 ต.ค. 64 นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า “นับเป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกของดั๊บเบิ้ล เอ ที่ได้นำเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบสกุลเงินดิจิทัลมาใช้เติมเงินบริการ Double A Fastprint โดยความร่วมมือกับ บิทาซซ่า (Bitazaa) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ได้รับการรับรองบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ Double A Fastprint เป็นแอปพลิเคชั่นสั่งพรินต์งานได้ด้วยตัวเองบนมือถือ สะดวก รวดเร็ว พรินต์ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถสั่งพรินต์งานได้ทั้งแบบสีและขาวดำ มั่นใจในคุณภาพด้วยกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ และมีจุดให้บริการทั่วประเทศกว่า 2,000 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ, B2S, Family Mart, Lawson, Co-working space เป็นต้น จากความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้ Double A Fastprint ขยายช่องทางการชำระเงินในรูปแบบใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ในสกุลเงินดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Etherum ,USDT เพื่อเติมเป็นเครดิตเข้าบัญชีชำระค่าบริการได้ ตอบรับกระแสสังคมไร้เงินสดด้วยคริปโตเคอร์เรนซี นายกวิน พงษ์พันธ์เดชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บิทาซซ่า จำกัด เผยว่า “บิทาซซ่า พาร์ทเนอร์ (Bitazza Partners) เป็นการริเริ่มที่จะผลักดันเทรนด์ระดับโลกอย่างการใช้เทคโนโลยีการจัดการธุรกรรมออนไลน์ (Blockchain technology) จะช่วยให้ธุรกิจได้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ลดค่าใช้จ่ายและสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานด้วย การจับมือเทคโนโลยีคริปโตเคอร์เรนซี กับ Double A Fastprint ครั้งนี้ ถือได้ว่าดั๊บเบิ้ล เอ เป็นผู้นำด้านฟินเทคด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมกระดาษของไทย ซึ่งช่วยยกระดับความล้ำสมัยในการเพิ่มช่องทางชำระเงินที่สอดรับยุค New Norm ให้กับลูกค้าดั๊บเบิ้ล เอ และสำหรับลูกค้าบิทาซซ่าที่ใช้บริการ Double A Fastprint ก็จะได้สิทธิพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย. – 9 ต.ค. 64 เพียงเติมเงินด้วยคริปโตเคอร์เรนซีครั้งแรก รับโทเคน BTZ คืน 50 BTZ ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Double A Fastprint • สมัครใช้งาน • กดเติมเครดิต • เลือกบิทาซซ่าเพื่อเติมเครดิตด้วยคริปโตฯ • พร้อมสั่งพรินต์ได้ทันที! ดั๊บเบิ้ล เอ และบิทาซซ่า คาดหวังว่าความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ใช้บริการ Double A Fastprint ได้รับความสะดวกสบายในการชำระค่าบริการแบบไร้เงินสดในรูปแบบคริปโตเคอร์เรนซี ที่กำลังเป็นเทรนด์ในกระแสโลกยุคดิจิทัลนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://partners.bitazza.com/th/partner/double-a-fastprint/

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกับหอการค้าระยอง มอบหน้ากากอนามัยให้ศูนย์พักคอย

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกับหอการค้าจังหวัดระยอง โดยมีนายพิธพร สมะลาภา ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง และ นายประเสริฐ เหล่ากาญจน์สกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดระยอง มอบหน้ากากอนามัย Double A Care จำนวน 30,000 ชิ้น ให้กับศูนย์พักคอยมาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ขนาดใหญ่ มีจำนวนเตียงกว่า 300 เตียง พร้อมทั้งให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่ต้องปฎิบัติหน้าที่อย่างเหน็ดเหนื่อย นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ดั๊บเบิ้ล เอ ได้ร่วมส่งต่อความห่วงใย ให้คนไทยใจแข็งแรงและดูแลป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโควิด-19

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบข้าวสารให้กาชาด ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบข้าวสารจำนวน 1,500 กิโลกรัม ให้กาชาดจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน รวมถึงบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาในขณะนี้ โดยมีนายวรพันธ์ สุวัณณุสส์ (คนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และนางมัทนา สุวัณณุสส์ นายกเหล่ากาชาด ให้เกียรติรับมอบ นับเป็นอีกหนึ่งโครงการด้านสาธารณสุขที่ดั๊บเบิ้ล เอ ได้สนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งความห่วงใยและกำลังใจให้คนไทยผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ไปด้วยกัน