Follow us

ดั๊บเบิ้ล เอ จัดเสวนา "อยู่กับน้ำ" Dont let Flood STOP your Life เพื่อปลุกกำลังใจคนไทยให้เข้มแข็ง และใช้ชีวิตอยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุข

คุณชาญวิทย์ และวิทยากรที่ร่วมเสวนาฯ

พระมหาหรรษา การบรรยายธรรม เรียกขวัญและกำลังใจ

จากมหาอุทกภัยที่คนไทยต้องเผชิญร่วมกัน และเป็นปัญหาที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถ้าน้ำมาถึงแล้ว จะอพยพดี หรือจะอยู่กับน้ำดี  แต่เชื่อเหลือเกินว่า ไม่มีใครอยากจะอพยพมาอยู่ข้างนอกบ้าน แต่สิ่งที่หลายคนยังตั้งข้อสงสัยว่า แล้วเราจะอยู่กับน้ำได้จริงหรือ จากคำถามดังกล่าว ดั๊บเบิ้ล เอ จึงจัดงานเสวนา "อยู่กับน้ำ" Don't let Flood STOP your Life ขึ้น โดยเชิญกูรูสาขาต่างๆ มาบอกเล่าถึงประสบการณ์และแนะนำวิธีที่จะทำให้เราทุกคนอยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุข

บรรยาการการเสวนา อยู่กับน้ำ จากกูรูสาขาต่างๆ

ตั้งใจฟัง

โดยงานในวันนั้น เริ่มจากการร่วมฟังการบรรยายธรรม จาก พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็น 1 ในหลายๆวัดแรก ๆ ที่ประสบภัยใน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ด้วยการเตรียมความพร้อม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางของคนกว่า 3,000 ครอบครัว แม้จะลำบาก แต่พระมหาหรรษา บอกว่า รู้สึกภูมิใจ เพราะการไม่ย้ายไม่อพยพของเรา ทำให้ทุกคนในชุมชนสามารถต่อสู้ยืนหยัดจนวันนี้น้ำลดลงไปกว่า 60 ซม.แล้ว  แต่ประเด็นวันนี้ คือ ถ้าเราไม่หนีน้ำเราจะทำอย่างไร สิ่งสำคัญคือ เราต้องปรับตัวเข้ากับน้ำให้ได้ เวลาสายน้ำเดินทางผ่านมาเรามักจะเป็นทุกข์ สโลแกนของพระมหาหรรษา คือ "อยู่กับน้ำให้เป็นไม่เห็นความทุกข์" ซึ่งพระมหาหรรษา กล่าวว่า ขณะนี้คนส่วนใหญ่เวลาน้ำวิ่งเข้ามาหาน้ำไม่ได้ท่วมแค่กาย แต่น้ำได้ท่วมไปที่ใจ เพราะขณะนี้คนที่ประสบภัยไปแล้ว หรือคนที่กำลังจะประสบภัย จะมีความโกรธและความโลภ

สอบถามสถานการณ์น้ำนอกรอบ

ซึ่งหลังจากนี้อาตมาอยากให้ทุกคนที่เป็นผู้ประสบภัยแล้ว และคนที่กำลังจะเป็นผู้ประสบภัย ตั้งสติให้ดีและไล่เรียงลำดับความสำคัญว่าอะไรควรเก็บควรทำก่อนหลัง ขอให้คิดว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง มีท่วมก็ต้องมีแห้ง ขอให้ทุกคนเข้าใจว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น มันคงอยู่กับเราไม่นาน ขอให้อดทน และอาตมาไม่แนะนำให้คนที่มีบ้าน 2 ชั้น ย้ายบ้าน แต่ที่สำคัญคนที่รับผิดชอบอย่าไปตัดน้ำ ตัดไฟเขา เพราะเขาดูแลของเขาได้

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบเรือเมล์เพื่อผู้ประสบภัย

ขณะที่ คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ หรือ พี่เช็ค โปรดิวเซอร์รายการคนค้นฅน บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการลงพื้นที่จริงได้อย่างน่าสนใจ "น้ำท่วมครั้งนี้กินพื้นที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ชนบท ที่คนเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ จนถึงใจกลางมหานคร คนที่อยู่ไม่มีทั้งความรู้ ไม่คุ้นชินและไม่ได้มีการเตรียมพร้อมที่จะอยู่กับน้ำ ดังนั้นการลงไปจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในบริบทมันมีความแตกต่างกัน และคนถูกน้ำท่วมยังถูกน้ำท่วมด้วยดีกรีที่แตกต่างกัน ซึ่งจากการลงพื้นที่ผมพบว่า ในกลุ่มคนที่ถูกน้ำท่วม เป็น 5 ประเภท คือ 1. เดือดร้อน   2.ลำบาก 3.ยากเย็น 4.เข็ญใจ และ 5.ไม่ไหวแล้วโว้ย คือ เดือดร้อน ลำบาก ยากเย็น เข็ญใจ ทำให้วิธีที่เราจะต้องลงไปช่วยเหลือจะแตกต่างกัน ประกอบกับการมีต้นทุนบางอย่าง บางพื้นที่ที่มีทุกข์กับน้ำท่วมมาก เพราะไม่มีต้นทุน มีความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี แต่บางพื้นที่มีผู้นำที่เข้มแข็ง รวมกลุ่ม และจัดการทำให้ชุมชนอยู่ได้ แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เมื่อถูกน้ำท่วมต่างคนต่างคิดจะเอาตัวรอด ทำให้ทั้งตัวเองและชุมชน ไม่สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้"


น้ำใส น้ำใจ เพื่อผู้ประสบภัย จากดั๊บเบิ้ล เอ

ด้าน นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขและผู้ดำเนินโครงการชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ เล่าถึงประสบการณ์จากฐานะผู้ประสบภัยกลับมาเป็นผู้ช่วยเหลือว่า "ผมอยู่ในเขตบางบัวทอง จึงถือเป็นผู้ประสบภัยลำดับแรกๆ หรือ ผู้ประสบภัยรุ่นที่ 1 โดยที่ผ่านมาผมเตรียมสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนบอก อาจารย์หนีเถอะ เพราะน้ำเยอะจริงๆและไม่มีทางรอด แต่ผมเริ่มจากความไม่ประมาท ตระเตรียมทุกอย่างในการดำรงชีวิต แต่สาเหตุที่ต้องออกมาอยู่ข้างนอก เพราะ บังเอิญรายการโทรทัศน์ได้ชวนออกไปอยู่ข้างนอก เลยตัดสินใจออกมากับทางรายการ และปรับเปลี่ยนตัวเองจากผู้ประสบภัยมาเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยลงพื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ ไปพบว่า ชาวบ้านตั้งใจว่าเขาจะอยู่ และทาง กทม.  ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวไว้ที่โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ และที่วัดปุณณาวาส ผมจึงเริ่มกระบวนการกับชุมชน และเราเตรียมเป็นขั้นเป็นตอน และทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจกัน แต่ก็มีความขัดแย้งกัน แต่อย่างที่บอก ในสถานการณ์แบบนี้ อยู่ที่ต้นทุนและผู้นำชุมชนว่าเป็นอย่างไร เราจะจัดระบบอย่างไรให้เกิดผู้นำ และความสามัคคีขึ้น ซึ่งจากความสามัคคี ทำให้ชุมชนดังกล่าวอยู่ได้ด้วยความเข้มแข็ง โดยย้ำว่า ถ้าเราฝ่าวิกฤตได้ เราก็จะแข็งแรงขึ้นกว่าเก่า"

ถุงยังช่วย(กัน) ผลิตภัณฑ์จากผู้ประสบภัยในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

นายทวีจิตร จันทรสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นชื่อว่าสถาปนิก มีหรือที่จะไม่มีวิธีในการปกป้องบ้านให้พ้นจากอุทกภัยในครั้งนี้ แต่ใครจะเชื่อว่า แม้คุณทวีจิต จะมีอุปกรณ์ทุกอย่างเรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่บ้านคุณทวีจิตไม่มี แต่เขาก็ยังไม่สามารถรอดพ้นจากน้องน้ำได้ "สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เรียนรู้" อย่าไปเอาชนะธรรมชาติ แต่ให้คิดเอาธรรมชาติมาใช้ให้ประโยชน์ดีกว่า" เพราะถึงเวลาจริงแล้ว สิ่งที่เราเรียนรู้ถึงมาตราการการป้องกันนั้นยากเกินกว่าที่จะทำได้ ยิ่งน้ำสูงกว่า 1 เมตร ระบบที่เราเตรียมไว้ช่วยอะไรไม่ได้ เมื่อน้ำมาแล้ว บอกได้คำเดียวว่า เก็บเงินไว้ซ่อมบ้านดีกว่า น้ำท่วมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด จริง ๆ สิ่งที่น่ากลัวคือ ระบบโลจิสติกส์ ถ้าสามารถกู้ระบบโลจิสติกส์ได้ และสามารถขนส่งอาหาร ขนส่งคน ขนส่งสินค้า และยารักษาโรคได้ เราก็อยู่กับน้ำได้ ซึ่งประเด็นนี้ คุณเพ็ชร ชินบุตร จากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ก็สนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะตอนนี้ ถึงมีเงินแต่ก็หาซื้อของไม่ได้

สำหรับการดูแลบ้านหลังโดนน้ำท่วม แยกเป็นส่วนๆ

อาคาร : ยืนยันว่าโครงสร้างสามารถแช่น้ำเป็นเวลา 2 เดือน ไม่พังอย่างแน่นอน เว้นแต่อยู่ใกล้บึง ใกล้บ่อ ดินสไลด์ ซึ่งจะส่งผลต่อรากฐานได้

ผนัง : ขัดและล้าง และทิ้งไว้ 1 เดือนเพื่อให้น้ำและความชื้นระเหย เชื่อว่าราคาสีใหม่ ไม่เท่ากับราคากระสอบทรายที่ซื้อมากั้นบ้าน

พื้น : พื้นหินอ่อน หินขัด กระเบื้อง รีบทำความสะอาดอย่าให้เกาะนาน และถ้ากระเบื้องล่อน สามารถใช้กาวเพื่อซ่อมแซมได้ ส่วนพื้นไม้ ถึงน้ำไม่เข้าบ้าน แต่ความชื้นอาจจะทะลุขึ้นมาได้ ซึ่งหากเกิดอาการบวม ซ่อมแซมโดยการตัดออกและซ่อม

ปั๊มน้ำ /คอมเพรสเซอร์แอร์ : ควรหาถุงพลาสติกคลุม เพื่อป้องกันโคลน และยกขึ้นให้พ้นรัศมีน้ำ แต่สำหรับคนที่น้ำท่วมแล้ว หลังน้ำลดควรทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ รอให้แห้ง

ถังบำบัด : พอน้ำลดน้ำจะไหลลงไปเอง ให้เอาแบคทีเรียสำเร็จรูปใส่เข้าไป

ด้านคุณชวลิต จันทรรัตน์ TEAM Group มาบอกเล่าถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ว่า น้ำในปีนี้มีมากกว่าปีอื่นๆ 1.4  เท่า เราก็คิดแบบจำลองเอาน้ำจากพื้นที่ต่างๆ มาคำนวณ พบว่า พื้นที่บางแห่งท่วมแน่ บางแห่งกำลังท่วม และบางแห่งเสี่ยงปานกลาง ซึ่งตอนนี้ยังเหลือถนนพระราม 2 แต่ก็ท่วมแน่ๆ อย่าสร้างกระสอบทรายขอให้ไหลไปตามธรรมชาติ ให้ไหลบางๆ ลงทะเล แต่ในบริเวณกลางๆ ช่วงตะวันออกของถนนวงแหวนบางเขต เช่น ทุ่งครุ ราษฏร์บูรณะ ธนบุรี จะรอด ส่วนพื้นที่ตะวันตกคาดว่าท่วมไม่นาน ภายใน 2 สัปดาห์ ถ้ามีการอุดรอยรั่วที่คลองมหาสวัสดิ์เสร็จ และสูบน้ำจากคลองภาษีเจริญออกไปที่คลองสนามชัย ก็จะทำให้น้ำแห้งเร็ว

ส่วนฝั่งกรุงเทพฯ ชั้นใน เราต้องสู้ด้วยระบบสูบน้ำชั้นที่ 2 คลองบางซื่อยังรับน้ำได้ดี ไม่น่ามีปัญหา และทาง กทม.เองก็ช่วยสูบน้ำลงคลองสามเสนบางส่วน ช่วยให้อนุเสาวรีย์ชัยฯ รอดจากน้ำท่วม ในส่วนของรามคำแหงมีอุโมงค์พระราม 9 รับน้ำ จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวปลอดภัย และถัดไปมีอุโมงค์มักกะสันรับน้ำจากคลองพระราม 9 จะช่วยให้เขตดินแดงรอด นอกจากนี้ พื้นที่ที่น้ำจะไม่ท่วม มีเขตบางรัก คลองเตย สาทร พระนคร ดุสิต บางซื่อ แต่ก็อย่าเพิ่งประมาท โดยคุณชวลิตได้แนะแนวทางรับมือกับน้ำท่วมไว้หลากหลายข้อ และเตือนว่า สำหรับคนที่ยกรถขึ้น อย่ายกที่แหนบเพราะจะทำให้รถเสีย หรือถ้าใช้ถุงกันน้ำ ก็ต้องหาที่ยึดรถไว้ด้วยไม่เช่นนั้นรถจะลอยและกระแทกเสียหายได้

การเสวนาในครั้ง คงจะช่วยทำให้ทั้งผู้ประสบภัยและผู้ที่กำลังจะประสบภัย ได้กำลังใจและแนวทางที่จะลุกขึ้นมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่ปล่อยให้น้ำมาหยุดวิถีชีวิตของเรา ขอแค่รัฐบาลอย่าตัดน้ำตัดไฟ คนที่ตั้งใจจะสู้อยู่กับน้ำ ก็จะอยู่ได้ ในช่วงท้ายเสวนาดั๊บเบิ้ล เอ ผู้จัดเสวนาได้นำร่องมอบเรือเมล์ และไม้ต้นกระดาษให้แก่นพ.โกมาตร เพื่อนำไปสร้างสะพานต้นแบบสำหรับการสัญจรของชุมชนที่ประสบอุทกภัย ให้สามารถมีวิถีชีวิตอยู่กับน้ำ  และขอฝากคำดีๆ ของพระมหาหรรษา ไว้ด้วยว่า "แม้ว่าน้ำจะพัดพาทุกอย่างไปจากชีวิตเรา แม้ว่าจะพัดพาบางอย่างไปจากสังคมของเรา แต่น้ำจะไม่พัดพาสยามเมืองยิ้ม กำลังใจ และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันไปจากสังคมไทย เราจะสู้ไปด้วยกัน"

วีณามัย บ่ายคล้อย ผู้ดำเนินรายการ

ข่าวประชาสัมพันธ์

Double A ร่วมสนับสนุนงาน World Expo 2020 Dubai ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลสู่สายตาทั่วโลก

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกิจกรรม “Thailand Pavilion Launch & Networking Reception” ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) งาน World Expo 2020 Dubai ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 มหกรรมงานระดับโลก ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 -31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยผ่านการลงทุน การค้า สู่สายตาประชาคมโลก โดยมี นายวราวุธ ภู่อภิญญา (คนกลาง) เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม ณ โรงแรมดุสิตธานี ดูไบ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัว “กระดาษคราฟท์” พร้อมจำหน่าย รองรับตลาดอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กระดาษคราฟท์” เพื่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี พร้อมทำการตลาดและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3,000 ล้านบาทต่อปี นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า ความต้องการกระดาษคราฟท์ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมีประมาณ 164 ล้านตันต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 2.5 % โดยตลาดในแถบเอเชียแปซิฟิค ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคกระดาษคราฟท์มากที่สุดในโลก หรือเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิคที่ไม่รวมประเทศจีน ก็มีความต้องการมากถึง 30 ล้านตันต่อปี และมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ 4 % ต่อปี ทั้งนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดกระดาษคราฟท์มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการลงทุนสร้างโรงเยื่อ RECYCLE PULP (RCP) แห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยงบลงทุน 1,000 ล้านบาท มีการเดินเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับกระบวนการผลิตของโรงกระดาษที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงโรงกระดาษ 1 ที่จังหวัดปราจีนบุรี มาผลิตกระดาษคราฟท์ กำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์แรกที่พร้อมจำหน่ายแล้ว คือ กระดาษคราฟท์เพื่อทำลอนกล่องลูกฟูก CORRUGATED MEDIUM (CM) สำหรับการทำตลาดกระดาษคราฟท์นั้น ดั๊บเบิ้ล เอ วางแผนทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากประเทศในแถบเอเชียก่อน โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการที่ดั๊บเบิ้ล เอ มีเครือข่ายการตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ กำลังการผลิตส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานกล่องกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ ด้วย เพื่อทดแทนการใช้วัตถุดิบจากภายนอก ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับดั๊บเบิ้ล เอ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของดั๊บเบิ้ล เอ มากขึ้น เนื่องจากตลาดกระดาษเพื่อบรรจุภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ปัจจุบัน ดั๊บเบิ้ล เอ มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เยื่อกระดาษใยสั้น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษสำนักงาน และผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มกระดาษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ปากกา ปากกาเน้นข้อความ ปากกาลบคำผิด เครื่องเย็บกระดาษ กระเป๋าผ้า ซึ่งมีการจำหน่ายในทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ delivery.doubleapaper.com ซึ่งบริการเดลิเวอรี่ส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อรองรับกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในยุค New Normal สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟท์ สามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่โทร.085 835 3794 (สำหรับลูกค้าในประเทศ) และโทร.085 835 4098 (สำหรับลูกค้าต่างประเทศ)

ดั๊บเบิ้ล เอ สร้างปรากฏการณ์สุดเจ๋งใน MV วง OK GO ตอกย้ำกระดาษคุณภาพที่ผู้ใช้ทั่วโลกไว้วางใจ

ปรากฏการณ์ใหม่ระดับโลกเมื่อดั๊บเบิ้ล เอจับมือกับศิลปินวง OK GO วงดนตรีสุดครีเอท แนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก จากสหรัฐอเมริกา ที่มีผลงานเพลงและมิวสิค วิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสร้างเซอร์ไพร์สให้กับแฟนเพลงทั่วโลกอีกครั้ง ในมิวสิควิดีโอเพลง Obsession ด้วยเทคนิค Paper Mapping เป็นครั้งแรกของโลก โชว์คุณภาพดั๊บเบิ้ล เอ ที่ส่งออกไปแล้วกว่า 130 ประเทศ โดยศิลปิน OK GO ได้สัมผัสถึงความเรียบลื่นและคุณสมบัติเด่นของกระดาษดั๊บเบิ้ล เอที่ สามารถพรินต์ออกมาโดยไร้อุปสรรคใดๆ จนเกิดแรงบันดาลใจ“OBSESSION for Smoothness” ในการนำมาสร้างสรรค์ฉากอลังการที่น่าตื่นตาตื่นใจในมิวสิควิดีโอชุดนี้ ซึ่งดั๊บเบิ้ล เอ เห็นถึงความเป็นสากลของดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของวง OK GO ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ๆ สื่อสารภาพลักษณ์ ที่เฟรชขึ้น สนุกขึ้น แต่ยังคงหนักแน่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ทุกคนไว้วางใจ

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบขวดพลาสติกในกิจกรรม “ขวดนี้...เพื่อพี่ไม้กวาด” ให้กับสำนักสิ่งแวดล้อม กทม.

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นตัวแทนมอบขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว จากกิจกรรม “ขวดนี้เพื่อพี่ไม้กวาด” ที่ดั๊บเบิ้ล เอ รณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงการแยกขยะ โดยเฉพาะขวดพลาสติกใส ที่สามารถนำมาอัพไซเคิล (upcycle) ให้เกิดประโยชน์ ผ่านโครงการมือวิเศษกรุงเทพ “แยกเพื่อให้...พี่ไม้กวาด” แปรรูปเป็นชุดสะท้อนแสงสำหรับบุคคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความสะอาดของกรุงเทพฯ ซึ่งขวดพลาสติกใส (1.5 ลิตร) จำนวน 42 ขวด จะได้ชุดสะท้อนแสง 1 ชุด โดยมี นายอาฤทธิ์ ศรีทอง รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารของสำนักสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับมอบ ณ จุดรับขยะแยกประเภท (Drop off Point) ศาลาว่าการกรุงเทพฯ ดินแดง

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับผู้นำชุมชนเยี่ยมชมโรงงาน

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี นำโดย นายรัชกฤต พยัคฆ์ นายอำเภอศรีมหาโพธิ เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่ใช้เทคโนโลยีชั้นนำ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 พร้อมทั้งเข้าใจแหล่งที่มาวัตถุดิบจากไม้ปลูกของเกษตรกร ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นโดยรอบ และยังมีส่วนช่วยลดโลกร้อน โดยต้นกระดาษ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 17.86 กิโลกรัม/ปี สำหรับการเยี่ยมชมครั้งนี้นับเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนและสถานประกอบการในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน สำหรับสถานศึกษาหรือองค์กรที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ณ โรงงานดั๊บเบิ้ล เอ จ.ปราจีนบุรี สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://openhouse.doubleapaper.com/

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าอบรมหลักสูตรของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร "ผู้อำนวยการระดับต้น" รุ่นที่ ๑๐ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม นำโดยนางสาวฉันทนา เจริญศักดิ์ รองเลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตของดั๊บเบิ้ล เอ ที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน บนแนวทาง ESG ในด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งได้เข้าใจถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบจากต้นกระดาษของเกษตรกร ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้และยังมีส่วนช่วยลดโลกร้อน โดยต้นกระดาษ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 17.86 กิโลกรัม/ปี สำหรับสถานศึกษาหรือองค์กรที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ณ โรงงานดั๊บเบิ้ล เอ จ.ปราจีนบุรี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://openhouse.doubleapaper.com/

ดั๊บเบิ้ล เอ ปลูกป่าชายเลน ลดโลกร้อน

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่อุณภูมิสูงขึ้นทุกปี ทำให้ปัจจุบันเริ่มปรากฎผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้น หลายประเทศต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมถึงประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังเผชิญกับปรากฎการณ์เอลนีโญ ทีมีปริมาณฝนน้อย แห้งแล้ง ส่งผลกระทบต่อสมดุลของธรรมชาติเป็นห่วงโซ่ในวงกว้าง ตลอดจนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ดังนั้น เราควรต้องตระหนักถึงความสำคัญ และหันมาใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ หรือวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต “ป่าชายเลน” ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในระบบนิเวศ เป็นทั้งแหล่งอาหาร ที่พักอาศัยอนุบาลของสัตว์น้ำเล็ก ๆ และยังช่วยป้องกันการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งอีกด้วย นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังมีส่วนช่วยในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าป่าอื่น ๆ เมื่อเปรียบเทียบในจำนวนพื้นที่ที่เท่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงที่สูง ช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยจะกักเก็บเอาไว้ในรูปของเนื้อไม้ ด้วยตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน และ​การร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไป​สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้จัดกิจกรรม “ปลูกป่าชายเลน เพื่อโลก เพื่อเรา” ณ พื้นที่ชายฝั่งของตำบลสองคลอง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพนักงานดั๊บเบิ้ล เอ จิตอาสา ร่วมปลูกป่าชายเลน เป็นกล้าต้นโกงกางกว่า 100 ต้น และเก็บขยะในบริเวณป่าชายเลนที่ถูกซัดมาจากแหล่งชุมชน ซึ่งในกิจกรรมยังได้รับเกียรติจาก นายสมภพ คงภิรมย์ชื่น ผู้อำนวยการกองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลสองคลอง เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของป่าชายเลน และปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สำหรับกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ดั๊บเบิ้ล เอ ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา     ดั๊บเบิ้ล เอ ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักความยั่งยืน ภายใต้แนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance : ESG) พร้อมยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network : TCNN) เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่แนวทางการลดคาร์บอน โดยดั๊บเบิ้ล เอ ยังได้รับการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO (อบก.) ทั้งหมด 3 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กระดาษถ่ายเอกสารดั๊บเบิ้ล เอ ขนาด A4 80 แกรม, เยื่อแผ่นแห้ง (Dry Pulp) และ ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษรีไซเคิล (RCP) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (CE-CFP) ร่วมอีกด้วย       ทั้งนี้ ยังมีแผนในการดำเนินโครงการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) ในปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้นอีก 12 ผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) พร้อมร่วมสร้างการเติบโตในทุกมิติบนสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน

ดั๊บเบิ้ล เอ ชวนน้องรักการอ่าน ครั้งที่ 5

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอศรีมหาโพธิ จัดกิจกรรม “ดั๊บเบิ้ล เอ ชวนน้องรักการอ่าน ครั้งที่ 5” ให้กับน้องๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม ต.ศรีมหาโพธิ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยเป็นกิจกรรมฝึกทักษะภาษาไทย ทั้งเรื่องการเขียน คิดวิเคราะห์ ด้วยรูปแบบฐานเกมบิงโก ฐานปริศนาคำทาย นอกจากนี้ น้องๆยังได้มีโอกาสค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือน่าอ่านมากมายกับรถห้องสมุดเคลื่อนที่อีกด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดั๊บเบิ้ล เอ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาการศึกษาของเยาวชนไทย