Follow us

ดั๊บเบิ้ล เอ จัดเสวนา "อยู่กับน้ำ" Dont let Flood STOP your Life เพื่อปลุกกำลังใจคนไทยให้เข้มแข็ง และใช้ชีวิตอยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุข

คุณชาญวิทย์ และวิทยากรที่ร่วมเสวนาฯ

พระมหาหรรษา การบรรยายธรรม เรียกขวัญและกำลังใจ

จากมหาอุทกภัยที่คนไทยต้องเผชิญร่วมกัน และเป็นปัญหาที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถ้าน้ำมาถึงแล้ว จะอพยพดี หรือจะอยู่กับน้ำดี  แต่เชื่อเหลือเกินว่า ไม่มีใครอยากจะอพยพมาอยู่ข้างนอกบ้าน แต่สิ่งที่หลายคนยังตั้งข้อสงสัยว่า แล้วเราจะอยู่กับน้ำได้จริงหรือ จากคำถามดังกล่าว ดั๊บเบิ้ล เอ จึงจัดงานเสวนา "อยู่กับน้ำ" Don't let Flood STOP your Life ขึ้น โดยเชิญกูรูสาขาต่างๆ มาบอกเล่าถึงประสบการณ์และแนะนำวิธีที่จะทำให้เราทุกคนอยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุข

บรรยาการการเสวนา อยู่กับน้ำ จากกูรูสาขาต่างๆ

ตั้งใจฟัง

โดยงานในวันนั้น เริ่มจากการร่วมฟังการบรรยายธรรม จาก พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็น 1 ในหลายๆวัดแรก ๆ ที่ประสบภัยใน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ด้วยการเตรียมความพร้อม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางของคนกว่า 3,000 ครอบครัว แม้จะลำบาก แต่พระมหาหรรษา บอกว่า รู้สึกภูมิใจ เพราะการไม่ย้ายไม่อพยพของเรา ทำให้ทุกคนในชุมชนสามารถต่อสู้ยืนหยัดจนวันนี้น้ำลดลงไปกว่า 60 ซม.แล้ว  แต่ประเด็นวันนี้ คือ ถ้าเราไม่หนีน้ำเราจะทำอย่างไร สิ่งสำคัญคือ เราต้องปรับตัวเข้ากับน้ำให้ได้ เวลาสายน้ำเดินทางผ่านมาเรามักจะเป็นทุกข์ สโลแกนของพระมหาหรรษา คือ "อยู่กับน้ำให้เป็นไม่เห็นความทุกข์" ซึ่งพระมหาหรรษา กล่าวว่า ขณะนี้คนส่วนใหญ่เวลาน้ำวิ่งเข้ามาหาน้ำไม่ได้ท่วมแค่กาย แต่น้ำได้ท่วมไปที่ใจ เพราะขณะนี้คนที่ประสบภัยไปแล้ว หรือคนที่กำลังจะประสบภัย จะมีความโกรธและความโลภ

สอบถามสถานการณ์น้ำนอกรอบ

ซึ่งหลังจากนี้อาตมาอยากให้ทุกคนที่เป็นผู้ประสบภัยแล้ว และคนที่กำลังจะเป็นผู้ประสบภัย ตั้งสติให้ดีและไล่เรียงลำดับความสำคัญว่าอะไรควรเก็บควรทำก่อนหลัง ขอให้คิดว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง มีท่วมก็ต้องมีแห้ง ขอให้ทุกคนเข้าใจว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น มันคงอยู่กับเราไม่นาน ขอให้อดทน และอาตมาไม่แนะนำให้คนที่มีบ้าน 2 ชั้น ย้ายบ้าน แต่ที่สำคัญคนที่รับผิดชอบอย่าไปตัดน้ำ ตัดไฟเขา เพราะเขาดูแลของเขาได้

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบเรือเมล์เพื่อผู้ประสบภัย

ขณะที่ คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ หรือ พี่เช็ค โปรดิวเซอร์รายการคนค้นฅน บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการลงพื้นที่จริงได้อย่างน่าสนใจ "น้ำท่วมครั้งนี้กินพื้นที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ชนบท ที่คนเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ จนถึงใจกลางมหานคร คนที่อยู่ไม่มีทั้งความรู้ ไม่คุ้นชินและไม่ได้มีการเตรียมพร้อมที่จะอยู่กับน้ำ ดังนั้นการลงไปจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในบริบทมันมีความแตกต่างกัน และคนถูกน้ำท่วมยังถูกน้ำท่วมด้วยดีกรีที่แตกต่างกัน ซึ่งจากการลงพื้นที่ผมพบว่า ในกลุ่มคนที่ถูกน้ำท่วม เป็น 5 ประเภท คือ 1. เดือดร้อน   2.ลำบาก 3.ยากเย็น 4.เข็ญใจ และ 5.ไม่ไหวแล้วโว้ย คือ เดือดร้อน ลำบาก ยากเย็น เข็ญใจ ทำให้วิธีที่เราจะต้องลงไปช่วยเหลือจะแตกต่างกัน ประกอบกับการมีต้นทุนบางอย่าง บางพื้นที่ที่มีทุกข์กับน้ำท่วมมาก เพราะไม่มีต้นทุน มีความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี แต่บางพื้นที่มีผู้นำที่เข้มแข็ง รวมกลุ่ม และจัดการทำให้ชุมชนอยู่ได้ แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เมื่อถูกน้ำท่วมต่างคนต่างคิดจะเอาตัวรอด ทำให้ทั้งตัวเองและชุมชน ไม่สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้"


น้ำใส น้ำใจ เพื่อผู้ประสบภัย จากดั๊บเบิ้ล เอ

ด้าน นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขและผู้ดำเนินโครงการชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ เล่าถึงประสบการณ์จากฐานะผู้ประสบภัยกลับมาเป็นผู้ช่วยเหลือว่า "ผมอยู่ในเขตบางบัวทอง จึงถือเป็นผู้ประสบภัยลำดับแรกๆ หรือ ผู้ประสบภัยรุ่นที่ 1 โดยที่ผ่านมาผมเตรียมสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนบอก อาจารย์หนีเถอะ เพราะน้ำเยอะจริงๆและไม่มีทางรอด แต่ผมเริ่มจากความไม่ประมาท ตระเตรียมทุกอย่างในการดำรงชีวิต แต่สาเหตุที่ต้องออกมาอยู่ข้างนอก เพราะ บังเอิญรายการโทรทัศน์ได้ชวนออกไปอยู่ข้างนอก เลยตัดสินใจออกมากับทางรายการ และปรับเปลี่ยนตัวเองจากผู้ประสบภัยมาเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยลงพื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ ไปพบว่า ชาวบ้านตั้งใจว่าเขาจะอยู่ และทาง กทม.  ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวไว้ที่โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ และที่วัดปุณณาวาส ผมจึงเริ่มกระบวนการกับชุมชน และเราเตรียมเป็นขั้นเป็นตอน และทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจกัน แต่ก็มีความขัดแย้งกัน แต่อย่างที่บอก ในสถานการณ์แบบนี้ อยู่ที่ต้นทุนและผู้นำชุมชนว่าเป็นอย่างไร เราจะจัดระบบอย่างไรให้เกิดผู้นำ และความสามัคคีขึ้น ซึ่งจากความสามัคคี ทำให้ชุมชนดังกล่าวอยู่ได้ด้วยความเข้มแข็ง โดยย้ำว่า ถ้าเราฝ่าวิกฤตได้ เราก็จะแข็งแรงขึ้นกว่าเก่า"

ถุงยังช่วย(กัน) ผลิตภัณฑ์จากผู้ประสบภัยในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

นายทวีจิตร จันทรสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นชื่อว่าสถาปนิก มีหรือที่จะไม่มีวิธีในการปกป้องบ้านให้พ้นจากอุทกภัยในครั้งนี้ แต่ใครจะเชื่อว่า แม้คุณทวีจิต จะมีอุปกรณ์ทุกอย่างเรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่บ้านคุณทวีจิตไม่มี แต่เขาก็ยังไม่สามารถรอดพ้นจากน้องน้ำได้ "สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เรียนรู้" อย่าไปเอาชนะธรรมชาติ แต่ให้คิดเอาธรรมชาติมาใช้ให้ประโยชน์ดีกว่า" เพราะถึงเวลาจริงแล้ว สิ่งที่เราเรียนรู้ถึงมาตราการการป้องกันนั้นยากเกินกว่าที่จะทำได้ ยิ่งน้ำสูงกว่า 1 เมตร ระบบที่เราเตรียมไว้ช่วยอะไรไม่ได้ เมื่อน้ำมาแล้ว บอกได้คำเดียวว่า เก็บเงินไว้ซ่อมบ้านดีกว่า น้ำท่วมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด จริง ๆ สิ่งที่น่ากลัวคือ ระบบโลจิสติกส์ ถ้าสามารถกู้ระบบโลจิสติกส์ได้ และสามารถขนส่งอาหาร ขนส่งคน ขนส่งสินค้า และยารักษาโรคได้ เราก็อยู่กับน้ำได้ ซึ่งประเด็นนี้ คุณเพ็ชร ชินบุตร จากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ก็สนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะตอนนี้ ถึงมีเงินแต่ก็หาซื้อของไม่ได้

สำหรับการดูแลบ้านหลังโดนน้ำท่วม แยกเป็นส่วนๆ

อาคาร : ยืนยันว่าโครงสร้างสามารถแช่น้ำเป็นเวลา 2 เดือน ไม่พังอย่างแน่นอน เว้นแต่อยู่ใกล้บึง ใกล้บ่อ ดินสไลด์ ซึ่งจะส่งผลต่อรากฐานได้

ผนัง : ขัดและล้าง และทิ้งไว้ 1 เดือนเพื่อให้น้ำและความชื้นระเหย เชื่อว่าราคาสีใหม่ ไม่เท่ากับราคากระสอบทรายที่ซื้อมากั้นบ้าน

พื้น : พื้นหินอ่อน หินขัด กระเบื้อง รีบทำความสะอาดอย่าให้เกาะนาน และถ้ากระเบื้องล่อน สามารถใช้กาวเพื่อซ่อมแซมได้ ส่วนพื้นไม้ ถึงน้ำไม่เข้าบ้าน แต่ความชื้นอาจจะทะลุขึ้นมาได้ ซึ่งหากเกิดอาการบวม ซ่อมแซมโดยการตัดออกและซ่อม

ปั๊มน้ำ /คอมเพรสเซอร์แอร์ : ควรหาถุงพลาสติกคลุม เพื่อป้องกันโคลน และยกขึ้นให้พ้นรัศมีน้ำ แต่สำหรับคนที่น้ำท่วมแล้ว หลังน้ำลดควรทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ รอให้แห้ง

ถังบำบัด : พอน้ำลดน้ำจะไหลลงไปเอง ให้เอาแบคทีเรียสำเร็จรูปใส่เข้าไป

ด้านคุณชวลิต จันทรรัตน์ TEAM Group มาบอกเล่าถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ว่า น้ำในปีนี้มีมากกว่าปีอื่นๆ 1.4  เท่า เราก็คิดแบบจำลองเอาน้ำจากพื้นที่ต่างๆ มาคำนวณ พบว่า พื้นที่บางแห่งท่วมแน่ บางแห่งกำลังท่วม และบางแห่งเสี่ยงปานกลาง ซึ่งตอนนี้ยังเหลือถนนพระราม 2 แต่ก็ท่วมแน่ๆ อย่าสร้างกระสอบทรายขอให้ไหลไปตามธรรมชาติ ให้ไหลบางๆ ลงทะเล แต่ในบริเวณกลางๆ ช่วงตะวันออกของถนนวงแหวนบางเขต เช่น ทุ่งครุ ราษฏร์บูรณะ ธนบุรี จะรอด ส่วนพื้นที่ตะวันตกคาดว่าท่วมไม่นาน ภายใน 2 สัปดาห์ ถ้ามีการอุดรอยรั่วที่คลองมหาสวัสดิ์เสร็จ และสูบน้ำจากคลองภาษีเจริญออกไปที่คลองสนามชัย ก็จะทำให้น้ำแห้งเร็ว

ส่วนฝั่งกรุงเทพฯ ชั้นใน เราต้องสู้ด้วยระบบสูบน้ำชั้นที่ 2 คลองบางซื่อยังรับน้ำได้ดี ไม่น่ามีปัญหา และทาง กทม.เองก็ช่วยสูบน้ำลงคลองสามเสนบางส่วน ช่วยให้อนุเสาวรีย์ชัยฯ รอดจากน้ำท่วม ในส่วนของรามคำแหงมีอุโมงค์พระราม 9 รับน้ำ จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวปลอดภัย และถัดไปมีอุโมงค์มักกะสันรับน้ำจากคลองพระราม 9 จะช่วยให้เขตดินแดงรอด นอกจากนี้ พื้นที่ที่น้ำจะไม่ท่วม มีเขตบางรัก คลองเตย สาทร พระนคร ดุสิต บางซื่อ แต่ก็อย่าเพิ่งประมาท โดยคุณชวลิตได้แนะแนวทางรับมือกับน้ำท่วมไว้หลากหลายข้อ และเตือนว่า สำหรับคนที่ยกรถขึ้น อย่ายกที่แหนบเพราะจะทำให้รถเสีย หรือถ้าใช้ถุงกันน้ำ ก็ต้องหาที่ยึดรถไว้ด้วยไม่เช่นนั้นรถจะลอยและกระแทกเสียหายได้

การเสวนาในครั้ง คงจะช่วยทำให้ทั้งผู้ประสบภัยและผู้ที่กำลังจะประสบภัย ได้กำลังใจและแนวทางที่จะลุกขึ้นมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่ปล่อยให้น้ำมาหยุดวิถีชีวิตของเรา ขอแค่รัฐบาลอย่าตัดน้ำตัดไฟ คนที่ตั้งใจจะสู้อยู่กับน้ำ ก็จะอยู่ได้ ในช่วงท้ายเสวนาดั๊บเบิ้ล เอ ผู้จัดเสวนาได้นำร่องมอบเรือเมล์ และไม้ต้นกระดาษให้แก่นพ.โกมาตร เพื่อนำไปสร้างสะพานต้นแบบสำหรับการสัญจรของชุมชนที่ประสบอุทกภัย ให้สามารถมีวิถีชีวิตอยู่กับน้ำ  และขอฝากคำดีๆ ของพระมหาหรรษา ไว้ด้วยว่า "แม้ว่าน้ำจะพัดพาทุกอย่างไปจากชีวิตเรา แม้ว่าจะพัดพาบางอย่างไปจากสังคมของเรา แต่น้ำจะไม่พัดพาสยามเมืองยิ้ม กำลังใจ และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันไปจากสังคมไทย เราจะสู้ไปด้วยกัน"

วีณามัย บ่ายคล้อย ผู้ดำเนินรายการ

ข่าวประชาสัมพันธ์

Double A ร่วมสนับสนุนงาน World Expo 2020 Dubai ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลสู่สายตาทั่วโลก

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกิจกรรม “Thailand Pavilion Launch & Networking Reception” ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) งาน World Expo 2020 Dubai ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 มหกรรมงานระดับโลก ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 -31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยผ่านการลงทุน การค้า สู่สายตาประชาคมโลก โดยมี นายวราวุธ ภู่อภิญญา (คนกลาง) เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม ณ โรงแรมดุสิตธานี ดูไบ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัว “กระดาษคราฟท์” พร้อมจำหน่าย รองรับตลาดอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กระดาษคราฟท์” เพื่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี พร้อมทำการตลาดและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3,000 ล้านบาทต่อปี นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า ความต้องการกระดาษคราฟท์ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมีประมาณ 164 ล้านตันต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 2.5 % โดยตลาดในแถบเอเชียแปซิฟิค ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคกระดาษคราฟท์มากที่สุดในโลก หรือเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิคที่ไม่รวมประเทศจีน ก็มีความต้องการมากถึง 30 ล้านตันต่อปี และมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ 4 % ต่อปี ทั้งนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดกระดาษคราฟท์มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการลงทุนสร้างโรงเยื่อ RECYCLE PULP (RCP) แห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยงบลงทุน 1,000 ล้านบาท มีการเดินเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับกระบวนการผลิตของโรงกระดาษที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงโรงกระดาษ 1 ที่จังหวัดปราจีนบุรี มาผลิตกระดาษคราฟท์ กำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์แรกที่พร้อมจำหน่ายแล้ว คือ กระดาษคราฟท์เพื่อทำลอนกล่องลูกฟูก CORRUGATED MEDIUM (CM) สำหรับการทำตลาดกระดาษคราฟท์นั้น ดั๊บเบิ้ล เอ วางแผนทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากประเทศในแถบเอเชียก่อน โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการที่ดั๊บเบิ้ล เอ มีเครือข่ายการตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ กำลังการผลิตส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานกล่องกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ ด้วย เพื่อทดแทนการใช้วัตถุดิบจากภายนอก ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับดั๊บเบิ้ล เอ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของดั๊บเบิ้ล เอ มากขึ้น เนื่องจากตลาดกระดาษเพื่อบรรจุภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ปัจจุบัน ดั๊บเบิ้ล เอ มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เยื่อกระดาษใยสั้น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษสำนักงาน และผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มกระดาษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ปากกา ปากกาเน้นข้อความ ปากกาลบคำผิด เครื่องเย็บกระดาษ กระเป๋าผ้า ซึ่งมีการจำหน่ายในทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ delivery.doubleapaper.com ซึ่งบริการเดลิเวอรี่ส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อรองรับกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในยุค New Normal สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟท์ สามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่โทร.085 835 3794 (สำหรับลูกค้าในประเทศ) และโทร.085 835 4098 (สำหรับลูกค้าต่างประเทศ)

ดั๊บเบิ้ล เอ สร้างปรากฏการณ์สุดเจ๋งใน MV วง OK GO ตอกย้ำกระดาษคุณภาพที่ผู้ใช้ทั่วโลกไว้วางใจ

ปรากฏการณ์ใหม่ระดับโลกเมื่อดั๊บเบิ้ล เอจับมือกับศิลปินวง OK GO วงดนตรีสุดครีเอท แนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก จากสหรัฐอเมริกา ที่มีผลงานเพลงและมิวสิค วิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสร้างเซอร์ไพร์สให้กับแฟนเพลงทั่วโลกอีกครั้ง ในมิวสิควิดีโอเพลง Obsession ด้วยเทคนิค Paper Mapping เป็นครั้งแรกของโลก โชว์คุณภาพดั๊บเบิ้ล เอ ที่ส่งออกไปแล้วกว่า 130 ประเทศ โดยศิลปิน OK GO ได้สัมผัสถึงความเรียบลื่นและคุณสมบัติเด่นของกระดาษดั๊บเบิ้ล เอที่ สามารถพรินต์ออกมาโดยไร้อุปสรรคใดๆ จนเกิดแรงบันดาลใจ“OBSESSION for Smoothness” ในการนำมาสร้างสรรค์ฉากอลังการที่น่าตื่นตาตื่นใจในมิวสิควิดีโอชุดนี้ ซึ่งดั๊บเบิ้ล เอ เห็นถึงความเป็นสากลของดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของวง OK GO ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ๆ สื่อสารภาพลักษณ์ ที่เฟรชขึ้น สนุกขึ้น แต่ยังคงหนักแน่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ทุกคนไว้วางใจ

ดั๊บเบิ้ล เอ สนับสนุนความปลอดภัยช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบผลิตภัณฑ์ Double A Care อาทิ สเปรย์แอลกอฮอล์, เจลแอลกอฮอล์ และทิชชูเปียก เพื่อดูแลสุขอนามัย พร้อมเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานในจุดตรวจช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 ทั้ง 16 จุด โดยเป็นจุดตรวจบนเส้นทางหลัก 2 จุด และเส้นทางรอง 14 จุด ในพื้นที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน ตามมาตรการลด-ป้องกันอุบัติเหตุ โดยมี นายคเชนทร์ เที่ยงมณี ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้แทนรับมอบในครั้งนี้

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะจาก ASEAN FORESTRY DEAN FORUM

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ASEAN FORESTRY DEAN FORUM ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์ และผู้แทนนิสิตจากคณะวนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน นำโดยดร. กฤษฎาพันธุ์ ผลากิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตกระดาษคุณภาพด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ทั่วโลก ส่งออกไปแล้วกว่า 130 ประเทศ พร้อมกันนี้ ยังได้เข้าใจถึงที่มาของวัตถุดิบจากไม้ปลูกของเกษตรกรไทยที่ช่วยสร้างรายได้เสริมและเพิ่มพื้นที่สีเขียว มีส่วนช่วยลดโลกร้อน ผ่านการนำเสนอด้วยภาพยนตร์ระบบ 4 มิติ ณ โรงงานดั๊บเบิ้ล เอ จ.ปราจีนบุรี

ดั๊บเบิ้ล เอ ผนึก ศุภาลัย ชวนทำดีในโครงการ Hero Zero เพื่อสิ่งแวดล้อมและการศึกษา

บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังร่วมกับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ Hero Zero by Double A X Supalai ชวนเก็บกระดาษใช้แล้ว นำไปรีไซเคิล ตั้งเป้ารวมกระดาษใช้งานแล้ว 12,000 กิโลกรัม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการนำกลับไปรีไซเคิลได้ถึง 1,710 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และร่วมส่งมอบสมุดเพื่อการศึกษา 24,000 เล่มให้โรงเรียนที่ขาดแคลน พร้อมยังชวนเก็บห่อกระดาษ ส่งต่อให้ผู้ด้อยโอกาสพับถุงยาสร้างรายได้ เพื่อมอบให้โรงพยาบาล ใส่ยาให้คนไข้ตามนโยบายภาครัฐที่ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดโลกร้อน และช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวทาง ESG และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ที่มีพันธมิตรธุรกิจร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CARBON NEUTRALITY) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ( NET ZERO GHG EMISSIONS ) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) โดยโครงการ Hero Zero by Double A X Supalai ได้ผนึกกำลังร่วมกับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการดูแลใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการนี้ต่อยอดมาจากโครงการที่ดั๊บเบิ้ล เอ ได้ดำเนินการภายใต้ชื่อ “Blue Hero Zero Waste by Double A” เป็นโครงการนำกระดาษสำนักงานที่ใช้แล้ว กล่องพัสดุที่ไม่ใช้ คืนกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งเปิดตัวเมื่อปี 2564 มีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้วทั้งสิ้นกว่า 10 หน่วยงาน โดยผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา สามารถรวบรวมกระดาษเพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลไปได้ทั้งสิ้นกว่า 1,000 กิโลกรัม (1 ตัน) รวมไปถึงโครงการ ”กระดาษแปลงร่าง ถุงยารักษ์โลก” ที่ดั๊บเบิ้ล เอ ได้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 โดยเชิญชวนบริจาคห่อกระดาษเพื่อจัดทำเป็นถุงใส่ยาให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ลดการใช้ถุงพลาสติกตามนโยบายรัฐ และช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสมีรายได้เสริมจากการพับถุงยาให้กับโครงการด้วย นายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ สายงานก่อสร้างอาคารสูง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่บริษัทฯ มีเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก 25% ภายใน 3 ปีและมีเป้าหมายความยั่งยืนด้านสังคมเพื่อสร้างความสุขสู่สังคมไทย ครอบคลุมทุก Stakeholders ภายใต้โครงการ ศุภาลัย สร้างดี มุ่งหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน ด้วยการพัฒนาสังคม สร้างอาชีพ ให้โอกาสทางการศึกษา และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน พันธมิตรธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศุภาลัย เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก อย่างเช่นการเลือกใช้กระดาษสำนักงานทั้งในอาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ สำนักงานใหญ่ สำนักงานขายและสำนักงานก่อสร้างทั่วประเทศนั้น ทางบริษัทฯ ได้เลือกใช้สินค้าจาก ดั๊บเบิ้ล เอ เนื่องจากเป็นกระดาษรักษ์โลกที่ผลิตจากต้นไม้ปลูกเอง ไม่รบกวนไม้จากธรรมชาติ ล่าสุดมีแนวคิดนำกระดาษที่ใช้งานแล้วมารีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการ Hero Zero by Double AX Supalai โดยกระดาษทุก 1 กิโลกรัมที่เก็บกลับ เท่ากับทางศุภาลัยได้ร่วมมอบสมุดเพื่อการศึกษา จำนวน 1 เล่ม และ ดั๊บเบิ้ล เอ สมทบอีก 1 เล่ม เพื่อส่งมอบให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนที่ขาดแคลน คาดว่าจะสามารถรวมกระดาษใช้งานแล้วจำนวนทั้งสิ้น 12,000 กิโลกรัม เท่ากับการมอบสมุดเพื่อการศึกษา 24,000 เล่ม ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนกว่า 300,000 บาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,710 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี พร้อมรวมพลังสร้างดีกันต่ออีก 1 โครงการ คือ ถุงยารักษ์โลก ด้วยการเก็บห่อกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ พับเป็นถุงยา และนำไปมอบให้โรงพยาบาลต่างๆ เพื่อใช้ใส่ยาให้คนไข้ ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดปริมาณขยะ บริษัทฯ ตั้งกล่องรับกระดาษอยู่ที่กรีนโซน ชั้นล็อบบี้ อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถนนพระราม 3 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนธันวาคม 2566 เป็นเวลา 11 เดือน และในอนาคตยังเตรียมขยายโครงการไปยังสำนักงานขายและสำนักงานก่อสร้างทั่วประเทศต่อไป สำหรับโครงการ Hero Zero by Double A X Supalai ที่ดั๊บเบิ้ล เอ ได้ร่วมกับศุภาลัย นับเป็นก้าวสำคัญที่ก่อให้เกิดเครือข่ายความมีส่วนร่วมในการช่วยกันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ บนความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา ที่นอกจากจะนำกระดาษใช้แล้วคืนกลับสู่กระบวนรีไซเคิล ยังได้ร่วมกันส่งมอบสมุดให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการสร้างโอกาส สร้างอนาคตทางการศึกษาอีกด้วย

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบรางวัลกิจกรรม Double A Display Contest 2022

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกับ BeTrend 6 สาขา จัดกิจกรรมประกวดตั้งกองกระดาษ "Double A Display Contest 2022" โดยทั้ง 6 สาขาได้จัดวางรีมกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความสนใจของสินค้า ณ จุดขาย ซึ่งกิจกรรมได้จัดขึ้นตั้งแต่ พฤศจิกายน 2565-มกราคม 2566 พร้อมเชิญชวนลูกค้าที่ช้อปสินค้า Double A ในร้าน BeTrend สาขาที่ร่วมกิจกรรมได้ร่วมสนุกถ่ายภาพสินค้าที่ซื้อคู่กับจุดตั้งกองกระดาษ Double A เพื่อรับของที่ระลึกอีกด้วย และล่าสุดดั๊บเบิ้ล เอ ได้มอบรางวัลให้กับสาขาที่ชนะการประกวด อันดับ 1 คือ สาขาสยามพารากอน ,อันดับ 2 คือ สาขาเดอะมอลล์โคราช และอันดับ 3 คือ สาขาเดอะมอลล์บางกะปิ สามารถติดตามกิจกรรมดั๊บเบิ้ล เอ อย่างต่อเนื่องได้ทาง Facebook Double A Club

ดั๊บเบิ้ล เอ ชวนคนไทย ปิดไฟพร้อมกัน Earth Hour 25 มี.ค.นี้

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ ชวนคนไทยร่วมปิดไฟที่ไม่ใช้ กับกิจกรรม "Earth Hour 2023" เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 20.30 -21.30 น. พร้อมกับเมืองต่างๆทั่วโลก โดยปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น และลดการใช้พลังงาน เช่น ถอดปลั๊ก ปิดพัดลมและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน ทั้งนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้รณรงค์สร้างจิตสำนึกรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทำมากกว่าการปิดไฟมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า รวมทั้งลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง อาทิ แก้วน้ำ และกล่องโฟมใส่อาหาร เป็นต้น