Follow us

ดั๊บเบิ้ล เอ สนับสนุนกิจกรรม Open House และการแข่งสร้างสะพานกระดาษ

ทีมที่ได้รับรางวัลและคณะอาจารย์และผู้สนับสนุน

เมื่อเร็วๆนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี จัดโครงการนิทรรศการแสดงผลงาน “CM CA โชว์ของ” ครั้งที่ 6  โดยนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้าง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มีการจัดกิจกรรมแสดงผลงานของนักศึกษาและบุคคลากรและการแข่งขันโครงสร้างรับน้ำหนักจากกระดาษ : ลองของ ครั้งที่ 5 ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนและตัดสินจากกำลังในการรับน้ำหนักและความสวยงามและแนวคิดในการออกแบบ

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกฝนให้นักศึกษาเกิดทักษะความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักทำงานเป็นทีม สร้างความร่วมมือด้านวิชาการกับสถานศึกษาภายนอก รวมไปถึงรวบรวมผลงานและความรู้ความสามารถผลงานของนักศึกษา นำมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการเผยแพร่ในครั้งนี้อีกด้วย พร้อมทั้งเปิดให้นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศได้เข้าร่วมชมและร่วมแข่งขันอีกด้วย

ดั๊บเบิ้ล เอ ในฐานะเอกชนที่ให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด Double A Better Tomorrow ปลูกฝัน ปลูกปัญญา ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงทักษะความรู้ ความสามารถและการทำงานเป็นทีมจึงได้สนับสนุนกระดาษ สมุด และอุปกรณ์การศึกษาเพื่อกิจกรรมการแข่งขันโครงสร้างรับน้ำหนักจากกระดาษ หรือ การแข่งขันสะพานกระดาษ โดยในปีนี้มีนักเรียน นักศึกษาเข้าแข่งขันรวม 33 ทีมทั่วประเทศ

เริ่มต้นในช่วงเช้าที่เห็นรถบัสรถตู้จอดเรียงรายกันในมหาวิทยาลัย พร้อมกับเสียงหัวเราะ เสียงเพลงที่ดังอย่างคึกคักจากใต้คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม เมื่อก้าวเท้าเข้าไปถึงกับอดยิ้มไม่ได้ เพราะบริเวณนั้นเต็มไปด้วยความสดใสของนักเรียน นักศึกษา และใบหน้าที่พร้อมที่จะเรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้

น้องบี นายเอกพล มหาวัน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวังตะเคียนวิทยาคม อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า "ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการมาร่วมชมการแข่งขันสะพานกระดาษ พอดีมีหนังสื่อแจ้งไปทางโรงเรียนครับ วันนี้ผมและเพื่อนๆเลยมาร่วมทัศนศึกษา ทีแรกผมนึกภาพไม่ออกจริงๆครับว่ากระดาษจะนำมาสร้างเป็นสะพานและรับน้ำหนักได้ยังไง แต่วันนี้มาร่วมงานแล้วรู้สึกมีหลายสิ่งที่น่าสนใจมากครับ"  พอพูดจบน้องบีก็เดินเข้าไปถามๆพี่ๆที่ยืนอยู่ประจำบูธด้วยความสนใจและน้องยังบอกกับเราว่าตอนนี้อยู่ม.6 แล้วความฝันอยากจะเป็นพยาบาลทหารช่วงนี้เลยต้องตั้งใจ ใฝ่รู้และพยายามอย่างเต็มที่

อาจารย์สุบรรณ ตาคำวัน  หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้าง กล่าวว่า " จริงๆแล้วเราเริ่มต้นจากการแข่งขันสะพานไม้ไอติม และพัฒนาริเริ่มทำจัดการประกวดสะพานกระดาษ ซึ่งเป็นแห่งแรกของไทย ครั้งหน้าเราอาจจะมีการพัฒนาเป็นการแข่งขันระดับชาติ เพื่อให้นักศึกษาได้คิด ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาปรับใช้จริง และที่สำคัญจริงๆแล้วกระดาษทำอะไรได้มากมาย ไม่ว่าจะนำมาทำโมเดล เฟอร์นิเจอร์ ต่อไปเราอาจจะเห็นโครงสร้างที่มาจากกระดาษด้วยนะครับ "

การแข่งขันดำเนินการตั้งแต่ช่วงบ่ายด้วยความตื่นเต้นของผู้เข้าแข่งขันและกองเชียร์ของแต่ละทีม ที่ลุ้นกันนาทีต่อนาทีว่าสะพานกระดาษของตัวเองจะรับน้ำหนักได้มากที่สุดเท่าไหร่ จนกระทั่งการแข่งขันดำเนินมาถึงช่วงสุดท้าย กับนักศึกษาทีมที่ 33 หลังจากนั้นคณะกรรมการรวบรวมคะแนนทันที โดยผลคะแนนวัดจาก กำลังการรับน้ำหนักและความสวยงามและแนวคิดในการออกแบบ

ผลการตัดสินปรากฎว่า ทีมผู้ชนะเลิศได้แก่ ทีมลูกพระวิษณุ 2 จากวิทยาลัยเทคนิคนครนายก แชมป์เก่า ด้วยสะพานกระดาษที่รับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม โดยนางสาววันวิสาข์  คงศร และนางสาวอรอุมา  ฮิงสาหัส  สองสาวแห่งทีมยิ้มด้วยความภาคภูมิใจกับรางวัลที่ได้รับ  รวมไปถึงอาจารย์เรวัตต์  หน่ายมี อาจารย์ผู้ดูแลทีม  ที่เป็นเบื้องหลังผู้ผลักดันให้เกิดสะพานกระดาษที่แข็งแกร่งจนได้รับรางวัลชนะเลิศอีกครั้ง

น้องกิ๊ฟ นางสาววันวิสาข์  คงศร กล่าวว่า "วันนี้ดีใจมากๆค่ะ เพราะกว่าจะสร้างสะพานขึ้นมาได้ต้องใช้ความมุ่งมั่น ตั้งใจมาก ต้องใช้เวลากับสิ่งนี้พอสมควรเลยค่ะ  ตอนทำรู้สึกเหนื่อยมาก แต่มาถึงวันนี้หายเหนื่อยเลยค่ะ" พอพูดจบประโยคน้องกิ๊ฟก็หันหน้าไปยิ้มให้กับเพื่อนในทีมอีกคนอย่างภาคภูมิใจ

ทางด้าน ผศ.ดร.อนิราช มิ่งขวัญ คณบดีคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม ได้กล่าวทิ้งท้ายกับเราว่า  "กิจกรรมนี้เราอยากให้นักศึกษาได้แสดงความคิดในด้านงานก่อสร้าง หาวัสดุใหม่ๆที่แตกต่างจากเดิม อย่างกระดาษสามารถนำมาทำเป็นโครงสร้างและสามารถรับแรงได้ดีด้วย  การตอบรับจากการเข้าร่วมแข่งขันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะมุ่งมั่นจัดกิจกรรมต่อไปเรื่อยๆครับ"

เพียงแค่กระดาษถ่ายเอกสารสีขาว ที่ใช้งานแล้วก็ได้ กับกาวลาเท็กซ์ สามารถทำให้เป็นรูปเป็นร่าง เป็นชิ้นงานและรับน้ำหนักได้ด้วยฝีมือนักศึกษา  ขอแค่เราทุกคนกล้าคิด กล้าที่จะลงมือทำ  ก็จะสามารถสร้างจิตนาการของตัวเอง  ไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นโครงสร้างที่น่าทึ่งและสามารถใช้งานได้จริงในอนาคต

และทางเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ยังยืนยันจะจัดกิจกรรมขึ้นทุกปี น้องๆที่สนใจเตรียมตัวโชว์ความสามารถและเข้าสู่สนามจริงกันได้ต่อไปในปีหน้าซึ่งอาจจะพัฒนาเป็นการแข่งขันระดับชาติอีกด้วย

นักเรียนชมสะพานกระดาษ
น้องบี นายเอกพล มหาวัน
น้องกิ๊ฟ นางสาววันวิสาข์ คงศร
ผศ.ดร.อนิราช มิ่งขวัญ คณะบดีคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม
บรรยากาศในงาน
อาจารสุบรรณ ตาคำวัน
กิจกรรมภายในงาน
ทีมลูกพระวิษณุ 2 จากวิทยาลัยเทคนิคนครนายก ชนะเลิศ

ข่าวประชาสัมพันธ์

Double A ร่วมสนับสนุนงาน World Expo 2020 Dubai ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลสู่สายตาทั่วโลก

ดั๊บเบิ้ล เอ ร่วมกิจกรรม “Thailand Pavilion Launch & Networking Reception” ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion) งาน World Expo 2020 Dubai ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 มหกรรมงานระดับโลก ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 -31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ เพื่อมุ่งสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม และสร้างโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยผ่านการลงทุน การค้า สู่สายตาประชาคมโลก โดยมี นายวราวุธ ภู่อภิญญา (คนกลาง) เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม ณ โรงแรมดุสิตธานี ดูไบ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัว “กระดาษคราฟท์” พร้อมจำหน่าย รองรับตลาดอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กระดาษคราฟท์” เพื่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี พร้อมทำการตลาดและจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 3,000 ล้านบาทต่อปี นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า ความต้องการกระดาษคราฟท์ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมีประมาณ 164 ล้านตันต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 2.5 % โดยตลาดในแถบเอเชียแปซิฟิค ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคกระดาษคราฟท์มากที่สุดในโลก หรือเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิคที่ไม่รวมประเทศจีน ก็มีความต้องการมากถึง 30 ล้านตันต่อปี และมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ 4 % ต่อปี ทั้งนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดกระดาษคราฟท์มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการลงทุนสร้างโรงเยื่อ RECYCLE PULP (RCP) แห่งใหม่ขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยงบลงทุน 1,000 ล้านบาท มีการเดินเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับกระบวนการผลิตของโรงกระดาษที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงโรงกระดาษ 1 ที่จังหวัดปราจีนบุรี มาผลิตกระดาษคราฟท์ กำลังการผลิตอยู่ที่ 250,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์แรกที่พร้อมจำหน่ายแล้ว คือ กระดาษคราฟท์เพื่อทำลอนกล่องลูกฟูก CORRUGATED MEDIUM (CM) สำหรับการทำตลาดกระดาษคราฟท์นั้น ดั๊บเบิ้ล เอ วางแผนทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากประเทศในแถบเอเชียก่อน โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการที่ดั๊บเบิ้ล เอ มีเครือข่ายการตลาดทั่วโลก นอกจากนี้ กำลังการผลิตส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานกล่องกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ ด้วย เพื่อทดแทนการใช้วัตถุดิบจากภายนอก ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับดั๊บเบิ้ล เอ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของดั๊บเบิ้ล เอ มากขึ้น เนื่องจากตลาดกระดาษเพื่อบรรจุภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ปัจจุบัน ดั๊บเบิ้ล เอ มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เยื่อกระดาษใยสั้น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษสำนักงาน และผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มกระดาษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องเขียนกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ปากกา ปากกาเน้นข้อความ ปากกาลบคำผิด เครื่องเย็บกระดาษ กระเป๋าผ้า ซึ่งมีการจำหน่ายในทุกช่องทาง รวมทั้งช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ delivery.doubleapaper.com ซึ่งบริการเดลิเวอรี่ส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อรองรับกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในยุค New Normal สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟท์ สามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่โทร.085 835 3794 (สำหรับลูกค้าในประเทศ) และโทร.085 835 4098 (สำหรับลูกค้าต่างประเทศ)

ดั๊บเบิ้ล เอ สร้างปรากฏการณ์สุดเจ๋งใน MV วง OK GO ตอกย้ำกระดาษคุณภาพที่ผู้ใช้ทั่วโลกไว้วางใจ

ปรากฏการณ์ใหม่ระดับโลกเมื่อดั๊บเบิ้ล เอจับมือกับศิลปินวง OK GO วงดนตรีสุดครีเอท แนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก จากสหรัฐอเมริกา ที่มีผลงานเพลงและมิวสิค วิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสร้างเซอร์ไพร์สให้กับแฟนเพลงทั่วโลกอีกครั้ง ในมิวสิควิดีโอเพลง Obsession ด้วยเทคนิค Paper Mapping เป็นครั้งแรกของโลก โชว์คุณภาพดั๊บเบิ้ล เอ ที่ส่งออกไปแล้วกว่า 130 ประเทศ โดยศิลปิน OK GO ได้สัมผัสถึงความเรียบลื่นและคุณสมบัติเด่นของกระดาษดั๊บเบิ้ล เอที่ สามารถพรินต์ออกมาโดยไร้อุปสรรคใดๆ จนเกิดแรงบันดาลใจ“OBSESSION for Smoothness” ในการนำมาสร้างสรรค์ฉากอลังการที่น่าตื่นตาตื่นใจในมิวสิควิดีโอชุดนี้ ซึ่งดั๊บเบิ้ล เอ เห็นถึงความเป็นสากลของดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของวง OK GO ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ๆ สื่อสารภาพลักษณ์ ที่เฟรชขึ้น สนุกขึ้น แต่ยังคงหนักแน่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ทุกคนไว้วางใจ

ดั๊บเบิ้ล เอ รับรางวัลสุดยอดแบรนด์ชั้นนำ "Superbrands" 4 ปีซ้อน

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ รับรางวัลสุดยอดแบรนด์ชั้นนำ “Superbrands” ประจำปี 2013 จากมร.ไมค์ อิงลิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ องค์กรซุปเปอร์แบรนด์ โดย ดั๊บเบิ้ล เอ ได้รับรางวัลสุดยอดแบรนด์เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากผู้บริโภคและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายสาขาอาชีพ ให้ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นสุดยอดแบรนด์ด้วยความเป็นผู้นำตลาด ความแข็งแกร่งของแบรนด์ ความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จากการสำรวจทางการตลาดทั้งหมดกว่า 650 แบรนด์ ใน 37 กลุ่มผลิตภัณฑ์

ดั๊บเบิ้ล เอและกทม. ชวนบรรณารักษ์ สร้างห้องสมุดในฝัน ส่งเสริมเด็กไทยรักการอ่าน

การอ่านคือการเปิดโลกกว้าง เปิดมุมมองจากความคิดของผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือ และสำนวนที่หลากหลายชวนติดตาม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาชี้ว่าร้อยละ 80-90 ของความรู้และข้อมูลที่มนุษย์ต้องการ ค้นหาได้จากการอ่าน นอกจากนี้ การอ่านยังเป็นช่องทางในการเสริมสร้างจินตนาการและความคิด ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์อีกด้วย ดั๊บเบิ้ล เอ เล็งเห็นความสำคัญของการอ่านและได้มีการส่งเสริมสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดงานสัมมนาบรรณารักษ์ประจำปี 2556 ภายใต้หัวข้อ “ดั๊บเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ ชวนบรรณารักษ์ สร้างห้องสมุดในฝัน” เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์และบรรณารักษ์ได้นำความรู้ไปพัฒนาห้องสมุดภายในโรงเรียนและในชุมชนให้เป็นห้องสมุดในฝันของเด็กๆ โดยมี ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และอาจารย์เจริญ มุศิริ ครูเกียรติยศ สาขาบรรณารักษศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรสร้างสรรค์สังคมรักการอ่าน ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากครูบรรณารักษ์จากโรงเรียนต่างๆ และเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ห้องสมุดชุมชน กรุงเทพมหานคร มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก การสัมมนาเริ่มด้วยการบรรยายของอาจารย์เจริญ มุศิริ ที่ชักชวนเหล่าบรรณารักษ์จัดกิจกรรมในห้องสมุดเพื่อเป็นการจูงใจเด็กๆ เข้ามาใช้ห้องสมุดมากยิ่งขึ้น โดยการนำบทเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่สนุกสนานทั้งร้อง เล่น เต้น รำ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กๆสนใจในกิจกรรมและซึมซับเนื้อหาสาระไปโดยไม่รู้ตัวและเกิดการจดจำได้ง่าย “การสร้างห้องสมุดในฝันจำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐและเอกชน โดยเริ่มจากครอบครัวที่จะต้องปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่เด็ก ซึ่งควรเริ่มจากการอ่านจากภาพ เพื่อสร้างจินตนาการในการคิด แล้วค่อยพัฒนาการอ่านเป็นหนังสือประเภทอื่นๆต่อไป ในส่วนของโรงเรียนก็ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการความรู้กับกิจกรรมสันทนาการเพื่อจูงใจเด็กนักเรียน เช่นการจัดประกวดทักษะต่างๆ หรือกิจกรรมบันทึกการอ่าน โดยมีการเสริมเรื่องของรางวัลเพื่อจูงใจ และส่วนสุดท้ายชุมชนต้องให้ความสำคัญกับการอ่านด้วยเช่นกัน มีกิจกรรมให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง” อาจารย์เจริญ กล่าว ขณะที่คุณสุนิสา ปานเจริญ เจ้าพนักงานห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร (เขตลาดกระบัง) เล่าว่า “การได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ได้ความรู้และแนวทางในการจัดบรรยากาศห้องสมุดให้ดึงดูดประชาชนเข้ามาใช้บริการ โดยปกติห้องสมุดประชาชน เขตลาดกระบัง ก็มีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดประชาชนอยู่แล้ว แต่การได้เข้าร่วมการอบรมทำให้มีแนวคิดทางด้านการจัดกิจกรรมใหม่ๆ เปิดมุมมองใหม่ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาศักยภาพของบรรณารักษ์อีกด้วย” ต่อด้วยช่วงบ่ายที่เป็นการบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในวงการศึกษาไทยมานานอย่าง ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ที่นำประสบการณ์ในการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง ถึงการผลักดันกิจกรรมห้องสมุดให้เป็นที่แพร่หลาย โดยท่านได้ให้แนวคิดของการจัดห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดในฝันว่า “การจัดห้องสมุดให้อยู่ในพื้นที่เข้าถึงได้ง่าย สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งห้องสมุดระดับโลกมักจะสร้างรูปลักษณ์การดีไซน์ที่ทันสมัย อย่างเช่น Salt Lake City Public Library ในสหรัฐอเมริกา ที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงามใหญ่โต และยังมีการสร้างบรรยากาศด้วยการเปิดเพลงคลอให้ผู้ใช้บริการเพลิดเพลิน รวมถึงการจัดหาหนังสือให้ครอบคลุมความต้องการของผู้อ่าน และที่สำคัญการสร้างห้องสมุดในประเทศไทย ภาครัฐควรส่งเสริมงบประมาณที่จะสามารถจัดหาหนังสือดีมีคุณภาพ สื่ออิเล็กโทรนิกส์ และการเพิ่มจำนวนห้องสมุดให้มีเพียงพอใช้งาน หรือเพียงแบ่งงบประมาณร้อยละ 5 ของงบประมาณแผ่นดินก็สามารถสร้างห้องสมุดที่ดีมีคุณภาพไว้ให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว” ส่วนผู้ร่วมเข้าฟังสัมมนาอย่าง คุณเอื้อมพร พรหมนรกิจ ครูบรรณารักษ์ โรงเรียนประดิษฐารามวิทยาคม กล่าวว่า จากการสัมมนาในวันนี้ก็ได้ความคิดใหม่ๆ ที่จะนำไปเป็นเทคนิคปรับใช้กระตุ้นความคิดของเด็กนักเรียนให้เกิดความสนใจ ก็จะช่วยนำไปสู่การอ่านให้มีมากขึ้น เช่น ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ที่สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ซึ่งจะทำให้เด็กนักเรียนเข้ามาใช้ห้องสมุดมากขึ้น การสัมมนา “ดั๊บเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ ชวนบรรณารักษ์ สร้างห้องสมุดในฝัน” ในครั้งนี้ จะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนหนึ่ง ที่ดั๊บเบิ้ล เอ และกรุงเทพมหานคร ต้องการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา ปลูกฝังให้เกิดนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเยาวชนไทย ซึ่งเป็นอนาคตอันสำคัญของประเทศชาติ เราคงไม่อยากหยุดสถิติการอ่านของคนไทยไว้ที่ปีละ 5 เล่มเท่านั้น แต่เราหวังไว้ว่านิสัยรักการอ่านจะอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยทุกเพศและทุกวัย

ดั๊บเบิ้ล เอ มอบรางวัลพนักงานจัดส่งดีเด่นด้านประหยัดเชื้อเพลิง

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนาเพื่อลดโลกร้อน ทำพิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับพนักงานจัดส่งดีเด่นด้านประหยัดเชื้อเพลิง โดยมีนายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ ให้เกียรติมอบเกียรติบัตรและเงินรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจและยกย่องพนักงานที่มีผลงานด้านการควบคุมปริมาณการใช้เชื้อเพลิงดีเยี่ยม โดยกิจกรรมนี้ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ถึง 1.2 ล้านบาท เทียบเท่ากับการลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 44,502 กิโลกรัม และจะยังคงดำเนินการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นหนึ่งในการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานสะอาด หลังจากเมื่อปี 2549 ดั๊บเบิ้ล เอ มีโมเดลความสำเร็จในการพัฒนารถบรรทุกที่ติดตั้งและใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซ NGV เป็นรายแรกของประเทศไทย

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากคันนาเพื่อลดโลกร้อน เปิดบ้านต้อนรับคณะนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT (Asian Institute of Technology) เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และศึกษาโมเดล “กระดาษจากคันนา” ช่วยสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรจากการปลูกต้นกระดาษบนคันนาหรือพื้นที่ว่างทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดโลกร้อน พร้อมทั้งเรียนรู้แนวคิดของเหลือใช้ไม่ถูกทิ้งให้ไร้ค่า ด้วยการนำของเหลือจากการผลิตเยื่อและกระดาษมาเป็นเชี้อเพลิงชีวมวลผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในกลุ่มโรงงานและเหลือพอกับการใช้ของชุมชนโดยรอบ